web analytics

ติดต่อเรา

กิน อยู่ เป็น ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่

เราไม่อาจทราบได้ชัด 100% ว่าวันหนึ่ง คนใกล้ชิดหรือตัวเรา จะพบเจอกับมะเร็งหรือไม่? เมื่อไหร่? และอย่างไร?

รายงานจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) เปิดเผยรายงานประจำปีฉบับล่าสุด ซึ่งชี้ว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 18.1 ล้านคนทั่วโลกภายในช่วงสิ้นปี 2018 และจะทำให้มียอดผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งพุ่งสูงถึง 9.6 ล้านคนก่อนสิ้นปีนี้เช่นกัน

ตัวเลขดังกล่าวนับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสถิติของปี 2012 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 14.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต 8.2 ล้านคน ซึ่งนักวิจัยคาดว่าแนวโน้มนี้มีสาเหตุมาจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนของประชากรสูงวัยมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะอัตราผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น

 

ทำอย่างนี้…อนาคตสวัสดี ‘มะเร็งลำไส้ใหญ่

ในหลักการและการศึกษามาอย่างยาวนานพบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีพฤติกรรมดังนี้

  1. ผู้ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง
  2. รับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำ
  3. บริโภคเนื้อแดง (ที่อาจมีสารเคมีเจือปน)
  4. กินเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ
  5. รับประทานอาหารปิ้งย่าง (ไหม้เกรียม)
  6. กินอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์พวกผัก ผลไม้น้อย
  7. ผู้ที่สูบบุหรี่
  8. ผู้ที่ดื่มเหล้า
  9. คนที่ขาดจากการออกกำลังกาย
  10. ผู้ที่มีประวัติหรือคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง
  11. ผู้มีปัญหาระบบขับถ่าย เช่น ลำไส้อักเสบ ท้องผูกเรื้อรัง ภาวะลำไส้แปรปรวน

ประเทศไทยมีแนวโน้มอุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปคล้ายชาวตะวันตก หากไม่มีนโยบายคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่ฯอย่างจริงจัง จํานวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ภายในระยะเวลา 10 ปี มาอยู่ที่ราว 20,000 ราย ซึ่งย่อมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย

กันไว้ดีกว่าแก้…แย่ก็แก้กันต่อไป

“เราทุกคนไม่ว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ ควรพยายามใช้ชีวิตให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี มีสุขภาพที่ดีโดยทั่วกัน เริ่มจาก เลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สุขภาพคือต้นทุนแรกที่ต้องดูแล เพราะเป็นของคู่ตัวบุคคล คนที่มีสุขภาพดี ไม่ว่าวันหนึ่งจะป่วยหนักหรือไม่ ก็ย่อมมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าคนที่ไม่เคยดูแลสุขภาพมาก่อนแน่นอน”  ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM กล่าว

รู้ทันภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุลอยู่ตลอดเวลา ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ถ้าภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่น้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ โรคภัยเบียดเบียน ติดเชื้อโรคได้ง่าย

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *