ที่สุดของการปกป้องคุณ ครอบคลุมทุกความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ ด้วยบริการ dtac Safe จับมือ Whoscall เสริมเกราะป้องกันโจรออนไลน์
ดีแทค ห่วงใยผู้ใช้บริการจากการถูกหลอกลวงทางมือถือ ยกระดับบริการ dtac Safe สร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ป้องกันภัยไซเบอร์เข้มครบทุกมิติ จับมือ Whoscall แอปพลิเคชันเลือกรับสายที่สำคัญ รู้ทันถึงสายมิจฉาชีพ สายรบกวนต่างๆ ที่รับประกันความปลอดภัยด้วยฐานข้อมูลมากกว่า 1.6 พันล้านหมายเลขจากคอมมิวนิตี้ทั่วโลก ทำให้ลูกค้าดีแทคสามารถเลือกอัปเกรดบริการเพื่อเพิ่ม 3 เกราะป้องกันโจรออนไลน์ให้ครบทุกมิติ 1. Prevention ป้องกันสายก่อกวนแจ้งเตือนเบอร์ไม่ปลอดภัย ด้วยแอป Whoscall พรีเมียม 2. Protection ปกป้องผู้ใช้บริการจากเว็บปลอม และปกป้องข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานให้ปลอดภัย ด้วย dtac Safe และ 3. Lost Mitigation บรรเทาการสูญเสีย ด้วยแผนประกันภัยไซเบอร์ สำหรับนักช้อปปิ้งออนไลน์ ที่ถูกโกง จากดีชัวรันส์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดีแทคแอป หรือ https://www.dtac.co.th/dtac-safe
การถูกหลอกลวงทางโทรศัพท์มือถือและ SMS เพิ่มสูงสุดในรอบปี
สถิติจาก Whoscall Application Thailand ระบุว่าในปี 2564 มีการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์และ SMS ในไทย มากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 270% จากปี 2563 มีการส่ง SMS จากมือถือที่มาพร้อมกับข้อมูลหลอกลวง ลิงก์ฟิชชิ่ง เพื่อหลอกขโมยข้อมูล เพิ่มจากปี 2563 ถึง 57% โดยสถิติจาก Interrisk Asia ในปี 2564 ยังระบุภาพรวมของการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 144% คิดเป็นมูลค่า 72.6 ล้านบาท
ซึ่ง 5 อันดับกลโกงใกล้ตัวปี 2565 ที่มีการแจ้งความออนไลน์ ผ่านทางตำรวจสืบสวนสอบสวนอาญชญากรรมทางเทคโนโลยีมากที่สุด คือ 1. หลอกขายของออนไลน์ 28,837 เรื่อง 2. หลอกให้ทำงาน 10,008 เรื่อง 3. หลอกให้กู้เงิน 8,503 เรื่อง 4. หลอกให้รักแล้วลงทุน 8,220 เรื่อง 5. หลอกให้กลัวแล้วโอนเงิน 5,096 เรื่อง สถิติการถูกหลอกลวงทางโทรศัพท์มือถือ ดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่จะเกิดเพิ่มมากขึ้นอีก แม้ว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันแก้ปัญหา ให้ความรู้และหาวิธีป้องกันให้กับประชาชน ให้รู้เท่าทันเหล่ามิจฉาชีพที่ยังคุกคามเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลา
dtac Safe ผนึก Whoscall แอปบล็อกการโทรหรือ SMS ที่หลอกลวง
นายฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคตระหนักถึงความกังวลของผู้ใช้บริการต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์และการฉ้อโกงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์และการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยเรามุ่งมั่นพัฒนาบริการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ครบทุกมิติสำหรับลูกค้าดีแทค หากลูกค้าเจอภัยคุกคามออนไลน์ ดีแทคมีช่องทางปกป้องภัยเหล่านี้ได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน โดยลูกค้าดีแทคสามารถโทรแจ้งภัยมิจฉาชีพ และ SMS ข้อความหลอกลวง ได้ที่ดีแทค คอลเซ็นเตอร์ เบอร์เดิมเบอร์เดียว โทร 1678 หรือแจ้งผ่าน SMS/MMS 1678 เพื่อบล็อกและดำเนินการสอบสวน ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมแนะประชาชนให้สังเกตหมายเลขที่โทรเข้ามา ถ้ามีเครื่องหมาย + เป็นเบอร์ที่โทรมาจากต่างประเทศ ควรระมัดระวังอย่ารับสาย และยังมีบริการปกป้องภัยคุกคามออนไลน์จากบริการ dtac Safe ที่ช่วยปกป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับลูกค้า จากเว็บไซต์ที่มาพร้อมไวรัส มัลแวร์ หรือแรนซัมแวร์ รวมไปถึงปกป้องข้อมูล่สวนตัว และข้อมูลทางการเงินจากลิงก์ปลอม ฟิชชิงเมล และ SMS ฟิชชิง ซึ่งมีลูกค้าดีแทคใช้บริการแล้วมากกว่า 130,000 ราย
จากจุดยืนของแบรนด์ที่ต้องการเป็นผู้ให้บริการที่มากกว่าโทรคมนาคม (Go Beyond Mobile Connectivity) เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน Cybersecurity ด้วยมาตรฐานยุโรป นำมาพัฒนาบริการ dtac Safe อย่างต่อเนื่อง ให้สามารถปกป้องลูกค้าได้ครอบคลุมกับทุกภัยไซเบอร์ที่คุกคามผู้ใช้บริการในปัจจุบัน
ล่าสุด ดีแทคได้ยกระดับบริการ dtac Safe ปกป้องภัยคุกคามออนไลน์ขั้นสูง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้มือถือได้อย่างสบายใจ ด้วยการแนะนำแพ็กเกจที่รวมการป้องกัน ปกป้อง และคุ้มครองความเสียหายในทุกมิติ มาแนะนำผู้ใช้บริการ โดยร่วมกับพันธมิตร Gogolook ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผ่านแอปพลิเคชัน Whoscall ช่วยแจ้งเตือนการหลอกลวง ไม่ต้องกลัวตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง ใช้งานได้สบายใจยิ่งขึ้น”
นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวว่า “การมอบความคุ้มครองที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ การส่งข้อความ และการฉ้อโกงออนไลน์ มีความจำเป็นมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้หลงเชื่อ ความร่วมมือกับดีแทค ผ่านแอปพลิเคชัน Whoscall ช่วยเสริมศักยภาพบริการ dtac Safe ในการต่อสู้กับการฉ้อโกงจากการโทรและข้อความหลอกลวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันคนไทยจากการถูกหลอกลวง และการสร้างสังคมที่ปลอดภัยจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไทยทุกคน”
3 เกราะป้องกันโจรออนไลน์
ดีแทคได้ยกระดับบริการ dtac Safe กับ 3 เกราะป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ และประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้จาก dtac Safe / whoscall และ dSurance
- การป้องกัน (Prevention) บริการจาก Whoscall พรีเมียม บล็อกสายก่อกวน แจ้งเตือนเบอร์ที่น่าสงสัย ไม่ปลอดภัย
- ปกป้อง (Protection) จาก dtac Safe ปกป้องผู้ใช้จากเว็บไซต์อันตรายที่มาพร้อมกับไวรัส มัลแวร์ หรือแรนซัมแวร์ รวมไปถึงลิ้งก์ปลอมจากมิจฉาชีพออนไลน์
- บรรเทาการสูญเสีย (Lost Mitigation) ด้วยแผนประกันภัยไซเบอร์ จากดีชัวรันส์ บรรเทาการสูญเสีย จากการหลอกลวงซื้อของออนไลน์ /การฉ้อโกงออนไลน์ ด้วยความคุ้มครองสูงสุด 3,000 บาท
นอกจาก 3 เกราะป้องกันภัยไซเบอร์แล้ว ลูกค้าดีแทคสามารถเลือกรับประโยชน์ได้เพิ่มเติม จากพรีเมียมแพ็กเกจ สุดคุ้ม เพื่อการปกป้องสูงสุด ได้ที่ ดีแทคแอป หรือ https://www.dtac.co.th/dtac-safe
อ้างอิงแหล่งข้อมูล
https://www.interriskthai.co.th/cybercrime-in-thailand/#:~:text=The%20average%20losses%20of%20cybercrime,intrusion%20into%20the%20headquarters%20system.)
ข้อมูลจาก ตำรวจไซเบอร์ กระทรวงดิจิทัลฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 31 สิงหาคม 2565) https://www.hightechcrime.org/
– ปัญหาฟิชชิ่งที่เกี่ยวกับการเงินในไทยมีมากถึง 55.63% (Source: https://digitalmore.co/kaspersky-phishing-via-esp/)