web analytics

ติดต่อเรา

finbiz by ttb แนะเคล็ด (ไม่) ลับ SME ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมืออาชีพ

ผู้ประกอบการ SME ที่กำลังเริ่มธุรกิจ หรือได้รับสืบทอดต่อมาจากธุรกิจครอบครัว และกำลังมองหาเส้นทางที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดไปสู่ธุรกิจที่เติบโต finbiz by ttb มีเคล็ด (ไม่) ลับ มาแนะนำเพื่อให้สามารถส่งต่อธุรกิจสู่รุ่นถัดไปได้อย่างมั่นคง พร้อมนำไปสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน

 

ก้าวให้ทัน…ธุรกิจไม่ตกเทรนด์

การที่ธุรกิจจะไปได้ไกล ต้องเป็นธุรกิจที่ปรับตัวได้ไว และมองเห็นโอกาสสำหรับอนาคต การเกาะติดเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยเทรนด์ที่สำคัญอย่างยิ่งในขณะนี้ซึ่งธุรกิจต้องจับตามองและปรับตัวตาม ได้แก่

  • สังคมผู้สูงอายุ ไทยเป็นประเทศสังคมสูงอายุ ตั้งแต่ปี 2021 โดยมีประชากรสูงอายุในระดับ 60 ปีขึ้นไปเป็น 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด และหากอัตราการเกิดยังคงไม่เพิ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่ Super Silver Age ที่มีประชากร 1 ใน 5 อายุ 65 ปีขึ้นไป ธุรกิจที่เริ่มปรับสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับวัยของประชากรสูงอายุก็จะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ได้
  • การแทรกแซงของสินค้าต่างประเทศ สินค้าต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกำลังทะลักเข้าไทยอย่างหนักกระทบกับภาคผลิตของไทย และในปัจจุบันก็เริ่มกระทบในด้านของภาคบริการด้วย รวมไปถึงการจ้างงานในโรงงานหรือการจ้างงานในบริการต่าง ๆ ผู้ประกอบการที่มีแนวทางในการรับมือปรับตัวได้ไวก็จะได้เปรียบ
  • การเข้ามาของ ESG ซึ่งไม่เพียงกระทบในแง่ของสิ่งแวดล้อม แต่รวมไปถึงสังคม และการทำงานที่โปร่งใสด้วย อีกทั้งยังมีกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ บังคับใช้ ธุรกิจที่เริ่มทำ ESG และผ่านเกณฑ์ของมาตรการต่าง ๆ ก็จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในอนาคต
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยี AI ที่ปัจจุบันพัฒนาไปอย่างมาก และฉลาดมากกว่ารุ่นก่อน ๆ หากธุรกิจสามารถใช้ความสามารถของ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึง
  • พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น และยังมีการใช้ช่องทางอย่างผสมผสานทั้งออนไลน์และการจับจ่ายที่หน้าร้าน ธุรกิจจึงต้องอยู่ทุกที่ที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ รวมถึงต้องมีระบบรองรับที่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ ก็จะสร้างโอกาสให้ธุรกิจอย่างมาก
  • การพัฒนาของเครื่องมือทางการเงิน จากเทรนด์ของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคส่งผลให้การบริหารจัดการการเงินของผู้คนในยุคนี้มีใช้บริการทางการเงินดิจิทัลอย่างแพร่หลาย และมั่นใจในระบบมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจที่ใช้เครื่องมือทางการเงินที่ดี ไว้ใจได้ วิเคราะห์ได้ จะเป็นผลดีและสร้างความได้เปรียบรวมถึงโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันประชากรไทย 80% สามารถใช้จ่ายโดยไม่ถือเงินสดได้นานถึง 9 วัน เป็นข้อพิสูจน์ว่าระบบการเงินดิจิทัลมีความสำคัญมากเพียงใด

 

บริหารจัดการดี ยิ่งไปได้ไกล

จากข้อมูลธุรกิจในไทยพบว่า ธุรกิจที่มีความยั่งยืนจะเป็นธุรกิจที่มีการส่งต่อสู่ผู้บริหารรุ่นถัดไปได้ดี และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็น 85% และ 70% ของธุรกิจครอบครัวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจครอบครัวจะมีอายุเฉลี่ย 21 ปี ส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวมีอายุประมาณ 12 ปี ซึ่งหากธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นหรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ การสืบทอดสู่ทายาทรุ่นต่อไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งควรมีแนวทางการบริหารที่จะต้องจัดการสมดุลของ 3 สิ่ง ได้แก่

1.การจัดการสมดุลของ Control – Growth – Liquidity

การควบคุมธุรกิจต่าง ๆ ของตนเอง (Control) คนที่เป็นเจ้าของจะอดไม่ได้ที่อยากจะควบคุมธุรกิจของตนเอง ซึ่งธุรกิจยิ่งใหญ่ ยิ่งควบคุมยาก แต่การควบคุมกิจการไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางนั้นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างธุรกิจใหม่ ในลักษณะของกลุ่มบริษัท โดยมีศูนย์กลาง หรือเป็นบริษัทโฮลดิ้ง เมื่อธุรกิจครอบครัวมีโครงสร้างที่ดี ครอบครัวก็ส่งคณะกรรมการมาบริหารบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่และสามารถบอกทิศทาง นโยบายที่ครอบครัวต้องการผ่านทางบริษัทโฮลดิ้ง

การเติบโตของธุรกิจ (Growth) ธุรกิจจะเติบโตได้นั้นก็ต้องสอดคล้องกับโลกธุรกิจ และใช้จุดแข็งของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง เครดิตของเจ้าของ ฯลฯ เพื่อสร้างการเติบโต อย่างไรก็ตาม ธุรกิจครอบครัวมีการส่งต่อความเชี่ยวชาญจากรุ่นสู่รุ่นอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ได้ และที่สำคัญ ด้วยความเชี่ยวชาญดังกล่าวก็ทำให้มีต้นทุนต่ำกว่า ความเสียหายก็น้อยกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ทำให้ได้เปรียบธุรกิจทั่วไป อีกทั้งสามารถสร้างนวัตกรรมต่อจากความเชี่ยวชาญที่มีได้ง่ายกว่า

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจครอบครัวต่างจากธุรกิจทั่วไปตรงที่มีความต้องการของครอบครัวเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ถ้าครอบครัวมีแรงส่งที่ดีก็จะทำให้ธุรกิจปรับตัวได้เร็ว ธุรกิจครอบครัวจึงต้องมีความชัดเจนและคุยกันให้เกิดแรงส่งให้ธุรกิจปรับตัวได้เร็ว ดังนั้น การเติบโตของธุรกิจครอบครัวจึงอิงกับวิสัยทัศน์ของเจ้าของธุรกิจจริง ๆ

สภาพคล่อง (Liquidity) ไม่ว่าธุรกิจขนาดใด สมาชิกครอบครัวต่างก็ต้องการความคล่องตัวจากสภาพคล่องดังนั้นภายใต้สภาพธุรกิจที่ดี ทำอย่างไรทุกคนจึงจะมีความเป็นอยู่ที่ดี และมีสภาพคล่องตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปถึงประเด็นว่า เหตุใดผู้นำธุรกิจครอบครัวบางท่านยังไม่ยอมวางมือ นั่นเพราะการจัดการความมั่งคั่ง (Wealth) ยังไม่ดีพอ ดังนั้นวิธีการสร้างสภาพคล่องสามารถทำได้ ด้วยการดึงสิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรจะได้ออกจากตัวธุรกิจ มาที่ตัวบุคคลหรือครอบครัวก่อน เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบริหารความมั่งคั่ง

2.ธรรมนูญครอบครัว ธรรมนูญครอบครัว หมายถึง ข้อตกลงร่วมกันระหว่างพี่น้อง พ่อแม่และเครือญาติ ที่การทำธุรกิจครอบครัวจะต้องยึดถือเป็นแก่นหลักสำคัญ ทั้งการบริหารธุรกิจ และหลักการใช้ชีวิต โดยต้องไม่มีการละเมิดธรรมนูญนี้

3.ความสัมพันธ์ของบุคลากรในกลุ่มธุรกิจครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยวงกลม 3 วงทับซ้อนกัน คือวงของคนในครอบครัว วงของคนในธุรกิจ และวงของผู้ถือหุ้น ในธุรกิจครอบครัวจะมีความสัมพันธ์ของคนใน 3 วงกลมอยู่ จึงจะต้องดูแลความสัมพันธ์นี้ให้ราบรื่น

ทั้งนี้ การปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันธุรกรรมทางการเงินบนระบบดิจิทัลมีบทบาทอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสนใจในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งการซื้อขายรับจ่าย และการบริหารจัดการข้อมูล โดยทีทีบีมีผลิตภัณฑ์รองรับ ไม่ว่าจะเป็น ttb smartshop แอปพลิเคชันที่ช่วยจัดการหน้าร้าน ซื้อขายรับจ่าย หรือ ttb business one ระบบธนาคารดิจิทัล ที่รองรับทุกแพลตฟอร์ม ทั้งมือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งการบริหารการเงินและบุคลากรอย่าง ttb payroll plus ก็เป็นอีกตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ปัจจุบันและนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *