ซีพี ทรู ลีสซิ่ง เอสซีจี โตโยต้า และ CJPT ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อเดินหน้าเร่งความร่วมมือกับหลากหลายอุตสาหกรรมมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในไทย
เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ทรู ลีสซิ่ง ปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) และ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเร่งความร่วมมือในการมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย โดย MOUนี้ เกิดขึ้นจากความสำเร็จในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากความพยายามร่วมกันของทุกฝ่าย รวมถึงประสิทธิภาพด้านการขนส่งของซีพี และเอสซีจี และการใช้ยานยนต์จากพลังงานที่หลากหลายตามความต้องการในประเทศไทย
ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ดีและความเชื่อมั่น ระหว่างนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาสกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และนายอากิโอะ โตโยดะ ประธาน บริษัท โตโยต้า (ในขณะนั้น)ซีพี ทรู ลีสซิ่ง เอสซีจี โตโยต้า และ CJPT ได้เริ่มต้นดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูล ด้านการเดินทาง และด้านพลังงาน โดยพิจารณาว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยนำมาซึ่งความสุขให้แก่ชาวไทย 67 ล้านคนภายใต้แนวคิด “เริ่มจากสิ่งที่สามารถทำได้ ณ เวลานี้ ร่วมกับพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์เดียวกัน”
สำหรับ “โซลูชันด้านการใช้ข้อมูล” ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า คือประสิทธิภาพของการโหลด และปรับเส้นทางในการจัดส่งอย่างเหมาะสม ด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านการค้าปลีกและการขนส่งของแม็คโคร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มซีพีรวมถึงเอสซีจี ตลอดจนการนำข้อมูลด้านการขนส่งและยานยนต์มาใช้ เพื่อนำมาทดลองกับร้านค้าที่เราดำเนินการทดสอบ ส่งผลให้ขณะนี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง15% (*1)
สำหรับ “โซลูชันด้านการเดินทาง” หลังจากที่ โตโยต้า มีการเปิดตัวยานพาหนะที่มีความหลากหลาย รวมทั้งรถบรรทุกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รถกระบะไฟฟ้าต้นแบบ Hilux Revo BEV Concept รถ Japan Taxi LPG-HEV และรถตู้ขนาดเล็กเพื่อการพาณิชย์ (Kei) โดยการใช้งานจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับการขนส่งในแต่ละประเภทและในแต่ละวัน สำหรับโครงการความร่วมมือครั้งนี้ มีการใช้รถพลังงานไฮโดรเจน และรถตู้ขนาดเล็ก ในธุรกิจค้าปลีกของ กลุ่มซีพี และเอสซีจี ซึ่งส่งผลให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ68 ตันต่อปี (*2) นอกจากนี้ ยังประสบความสำเร็จในการริเริ่มการใช้โดรนไฮโดรเจนต้นแบบสำหรับหว่านเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และงานอื่นๆ ในพื้นที่เกษตรของซีพี
ในส่วนของ “โซลูชันด้านพลังงาน” เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดตัวเครื่องผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากฟาร์มไก่ไข่ของซีพีเอฟและอาหารเหลือทิ้งจากโรงอาหารของโตโยต้า โดยนำพลังงานนั้นมาใช้กับรถบรรทุกพลังงานไฮโดรเจนและโดรนไฮโดรเจนรวมไปถึงการแข่งรถที่จะมีขึ้นในปลายเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเริ่มโครงการสาธิตการจัดการพลังงาน โดยใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) และระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่
ก้าวต่อไป โตโยต้ามีแผน ที่จะนำรถยนต์ HEV หรือ รถตู้ขนาดเล็กเพื่อการพาณิชย์ “Kei” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทยในปัจจุบันพร้อมทั้งในอนาคตจะมีการนำรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) และรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบไฟฟ้า (BEV) มาเพิ่มเติมเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้แนวคิด “การเดินทางที่หลากหลาย” จากโตโยต้า
ทั้งนี้ ความท้าทายต่อไป คือการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน และการลดต้นทุนในกระบวนการทั้งหมดของขั้นตอน “การผลิต” “การขนส่ง” และ “การใช้” พลังงานโดยการใช้ พลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับสภาพ และการใช้งานในประเทศไทย
นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการใช้ข้อมูล จะมีการนำข้อมูลด้านค้าปลีก และขนส่งจาก ซีพีและเอสซีจี รวมถึงการนำเทคโนโลยี “Digital Twin” (การสร้างโมเดลเสมือนจริงจากพื้นที่จริง) ของโตโยต้า มาเพิ่มประสิทธิภาพของ “การเดินทาง การขนส่ง และพลังงาน” โดยร่วมมือกับระบบทางสังคม เช่น การจัดการพลังงานและการควบคุมการจราจร เป็นต้น
ภายใต้การบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัทใหม่ Commercial Japan Partnership Technologies Asia (CJPT-Asia) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เพื่อเร่งขยายความร่วมมือไปยังทุกภาคอุตสาหกรรมก่อนจะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ
*1 การแปลงเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ มาจากการลดระยะทางการขับขี่โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการบรรทุกและการรับเส้นทางการจัดส่งให้เหมาะสม
*2 การแปลงเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดทั้งปี มาจากจากลดคาร์บอนไดออกไซด์แบบ “Tank-to-wheel” เมื่อเทียบกับยานพาหนะทั่วไป โดยขึ้นอยู่กับอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ระหว่างการสาธิต