web analytics

ติดต่อเรา

เคทีซี ผนึกพันธมิตรธุรกิจ ร่วมบุกตลาดท่องเที่ยวไทยเต็มสตีม

เคทีซีจัดงานเสวนาออนไลน์ “เคทีซีผนึกพันธมิตรธุรกิจ ร่วมบุกตลาดท่องเที่ยวไทยเต็มสตีม” โดยมีพันธมิตรผู้นำธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมพูดคุย เพื่อทราบถึงทิศทางและการเตรียมความพร้อมของธุรกิจท่องเที่ยวไทยรองรับการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว

นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้อำนวยการ – การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากพฤติกรรมในด้านการท่องเที่ยวของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่เปลี่ยนแปลงไป มีความต้องการที่ชัดเจนและมีความคาดหวังกับการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น พร้อมที่จะจ่ายเงินจำนวนมากสำหรับการเดินทางที่เป็นส่วนตัวและขยายระยะเวลาของทริปให้ยาวนานขึ้น เพราะห่างหายจากการท่องเที่ยวมานาน จึงเกิดความโหยหาที่จะเดินทางท่องเที่ยว เคทีซีจึงได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการให้บริการด้านการท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านบริการ KTC World Travel Service เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ เคทีซียังได้จัดทำ Platform Domestic Travel Hub ภายใต้ concept หา เรื่อง เที่ยว เพื่อเป็นแหล่งรวม “เรื่องราว” “ประสบการณ์” และ “โปรโมชัน” ด้านการท่องเที่ยว อาทิ ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน แพ็กเกจทัวร์ บัตรเข้าชมกิจกรรมต่างๆ รถเช่า และประกันภัยการเดินทาง โดยเน้นการเดินทางท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง รวมถึงชุมชนต่างๆ กว่า 40 พื้นที่ทั่วประเทศไทย ในส่วนของพันธมิตรธุรกิจ เคทีซีได้จัดแคมเปญ “เที่ยว อยู่ ได้” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยทางเคทีซีให้การสนับสนุนด้านสื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึงสิทธิประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการขายอีกด้วย”

ายโชติช่วง ศูรางกูร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด และอุปนายก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) กล่าวว่า “ถึงแม้ภาพรวมของประเทศจะยังไม่พร้อม แต่ธุรกิจต้องพร้อมเสมอ ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นในการเดินทางมากขึ้น เพราะเราผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว  ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็น SME ก็จะขยับตัวได้คล่องแคล่ว สะท้อนถึงความมั่นใจในการกล้าลงทุนและพยายามเดินหน้าต่อไป โดยนักท่องเที่ยวจะเป็นกลุ่ม Medium-to-High End Market  ที่ต้องการความ Premium ในการท่องเที่ยวมากขึ้น

การแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวสูงขึ้น หนุ่มสาวทัวร์จึงพร้อมสร้างความแตกต่าง ด้วยการสร้าง Value ที่ยั่งยืน อาทิ การศึกษาเข้าใจพฤติกรรมตลาด รู้ Insight ของลูกค้า เพื่อนำเสนอรายการที่โดนใจ เช่น ทัวร์วันเดย์ สำหรับคนที่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ การออกไปเที่ยว ทัวร์ Silver age  และ Web-based app “NS Connect” ที่ให้บริการลูกค้าแบบเป็นดิจิตอลมากขึ้น นอกจากนี้ เรายังสร้าง Brand Trust เน้นความแตกต่างในตัวแบรนด์ เพิ่มคุณค่าและสร้างความเชื่อมั่น  รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายโอกาสทางธุรกิจ”

นายปิ่นยศ พิบูลสงคราม  Head of Commercial สายการบินไทยเวียตเจ็ท กล่าวว่า “ในปัจจุบันสถานการณ์ของไทยเวียตเจ็ทเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในตอนนี้ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ทำให้ตลาดนักท่องเที่ยวมีการตอบรับที่ดี และจากนโยบายที่ผ่อนปรนมากขึ้น ซึ่งทำให้เป็นผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้จากยอดจองที่เพิ่มขึ้น และจำนวนผู้โดยสารอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยตัวเลขสูงกว่า 80% ซึ่งเป็นระดับที่สูงเกือบจะเท่ากับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาบริการ และการให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้โดยสาร หรือ CUSTOMER EXPERIENCE เป็นเป้าหมายหลักของเรา โดยยึดหลักกลยุทธ์ทางธุรกิจ ดังนี้ 1) การปรับเปลี่ยนเครือข่ายและเส้นทางการบิน เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบัน 2) การพัฒนาด้านนวัตกรรม เช่น ระบบคะแนนสะสม Loyalty Program : FunCoin การสร้างเครือข่ายการขนส่ง หรือ Cargo ในประเทศจีน และการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ และ 3) ความปลอดภัย โดยยึดหลักปฏิบัติตามกฎการเดินทางทางอากาศสากล และแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย”

นายธเนศ ศุภรสหัสรังสี รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรีเป็นตัวแทนภาคเอกชนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของทุกสมาคมท่องเที่ยวในจังหวัด เพื่อประสานงานและขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) และสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา (ทกจ) โดยเรื่องหลักคือ เรื่องการเปิดเมืองพัทยา การจัดกิจกรรม และโปรโมชันต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังจังหวัดชลบุรี

ปัจจุบันปริมาณนักท่องเที่ยวไทยเดินทางเข้ามาจังหวัดชลบุรีเพิ่มมากขึ้นประมาณ 30-40% สำหรับในวันหยุด เช่น วันเสาร์จะมีอัตราการเข้าพักเพิ่มเป็น 60% และ 80% สำหรับวันหยุดยาว (Long Weekend)  อย่างไรก็ตาม จำนวนโรงแรมในจังหวัดที่เปิดให้บริการแล้วมีเพียง 30-40% ซึ่งโรงแรมขนาดเล็กส่วนใหญ่ยังคงปิดกิจการอยู่ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจำนวนน้อยมากประมาณ 2-3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 (ปกติช่วง high season เรามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือนละประมาณ 1 ล้านคน) ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ อาทิ การขอ COE (Certificate of Entry) การตรวจ RT PCR หลายครั้ง รวมถึงข้อบังคับเรื่องการซื้อประกัน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้สึกว่าการเดินทางมาประเทศไทยมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เบื้องต้นถึงแม้ไทยจะสามารถเปิดประเทศได้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 แต่ภาคเอกชนคาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังคงเข้ามาไม่มากนัก สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวไทย ผู้ประกอบการคงต้องจับมือกับพันธมิตรออกโปรโมชันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการของภาครัฐ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน หรือ การสนับสนุนงบประมาณด้านการตลาดจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ยังมีความจำเป็น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศ”

นายวุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ นายกสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจแห่งประเทศไทย (TAPA) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด ผู้บริหารสวนน้ำ สวนสนุก สยาม อะเมซิ่งพาร์ค “สวนสยาม” กล่าวว่า “ภาพรวมของสวนสนุกทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีตลาดใหญ่ๆ ภายในประเทศ เช่น  สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือ จีน จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวในประเทศโดยไม่ต้องมีการกักตัวซึ่งต่างจาการเดินทางระหว่างประเทศ  เมื่อ Travel Restrictions หรือข้อจำกัดการเดินทางน้อยลง การท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มที่จะกลับสู่สภาวะปกติได้ในปี  2566

สำหรับสยาม อะเมซิ่งพาร์ค (สวนสยาม) ตั้งแต่ปี 2563 เราได้มีการปรับตัวอยู่ตลอด เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้  เช่น การเปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้าราคาพิเศษ การขายบัตรออนไลน์ การเพิ่มช่องทางการชำระเงินแบบ  e-payment และมีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม การร่วมมือกับพันธมิตรเช่น เคทีซี ในการขยายฐานกลุ่มลูกค้า การลดค่าใช้จ่าย  รวมถึงการลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ ได้แก่ โครงการ  Bangkok World  แหล่งชิม ช้อป เที่ยว ที่เดียว แบบ One Stop Service ที่กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเทคโนโ ลยีหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ  เข้ามา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและรองรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป”

นายอติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ เจ้าของแพ 500 ไร่ และนายกสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติกไทย กล่าวว่า “ภาพรวมของที่พักโรงแรมบูติกไทย มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเกือบเทียบเท่าช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งโรงแรมบูติกที่คนไทยนิยม พื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ น่าน เชียงคาน เชียงราย แม่ฮ่องสอน และพะเยา พื้นที่ภาคตะวันตก ได้แก่ หัวหินและปราณบุรี พื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ บ้านกรูดและตราด และพื้นที่ภาคใต้  ได้แก่          เชี่ยวหลาน ขนอม และสิชล โดยคาดว่าโรงแรมบูติกไทยจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่ต้องการประสบการณ์และแสวงหาความแปลกใหม่ สำหรับภารกิจหลักของสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติกไทยในตอนนี้ คือ การเร่งปรับแก้กฎ ระเบียบ ที่เป็นข้อจำกัดต่อที่พักขนาดเล็กและกลาง รวมถึงที่พักบูติกให้สามารถเข้าถึงทุนและการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ สำหรับในส่วนของแพ 500ไร่ ได้มีการปรับกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการปรับจากพื้นฐานภายใน เช่น ต้นทุน รูปแบบบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ตามกระแส รวมถึงสร้างความมั่นใจในด้านสุขอนามัย”

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *