คอนติเนนทอล ขับเคลื่อนการพัฒนาสถาปัตยกรรมยานยนต์บนเซิร์ฟเวอร์อย่างต่อเนื่อง
วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ณ เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี หลังจากที่ได้ผลิต In-Car Application Server 1 ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าของ Volkswagen รุ่น ID.3 และ ID.4 คอนติเนนทอลก็ได้พิจารณาให้มีการผลิตคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงแบบเฉพาะโดเมนในรถยนต์อีกมากกว่า 20 รุ่น ให้กับผู้ผลิตรถยนต์หลายแบรนด์ในปี 2564 และ 2565 นี้ โดยรวมแล้วบริษัทมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านยูโร ซึ่งมาจากคำสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับห้องคนขับ การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อยานพาหนะ ไปจนถึงระบบไดนามิกและความปลอดภัยในการขับขี่ รวมถึงระบบการขับขี่อัตโนมัติ อีกทั้งบริษัทยังได้กำหนดอนาคตของยานพาหนะที่มีซอฟต์แวร์และการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบด้วย Continental Automotive Edge Platform เรียกได้ว่าระบบคอมพิวเตอร์ของยานยนต์รุ่นใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญของคอนติเนนทอลกำลังมุ่งเน้นไปที่แบบข้ามโดเมนในการสร้างแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถผสานรวมฟังก์ชันจำนวนมาก จากส่วนต่าง ๆ ของยานพาหนะ เช่น ความปลอดภัยในการขับขี่หรือความบันเทิง ช่วยให้ผู้ผลิตยานยนต์มีความยืดหยุ่นในการออกแบบสถาปัตยกรรมยานยนต์ซึ่งมีความซับซ้อนน้อยที่สุด
มร. ไมเคิล ฮูล์สวีซ์ (Michael Huelsewies) รองประธานอาวุโสด้านสถาปัตยกรรมและซอฟต์แวร์ของคอนติเนนทอล ได้อธิบายว่า “การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ ทั้งแบบชุดควบคุมไฟฟ้า ไปจนถึงแบบที่เป็นสถาปัตยกรรมบนเซิร์ฟเวอร์ ที่มีการเกี่ยวข้องมากไปกว่าวิวัฒนาการทางเทคนิคนั้น เราจึงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนาและการทำงาน ตลอดจนรูปแบบธุรกิจ ดังนั้น Continental Automotive Edge Platform ของเราจึงมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อระหว่างฟังก์ชันและบริการของรถกับระบบคลาวด์ และการพัฒนาสภาพแวดล้อมแบบบูรณาการที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกับพันธมิตรและลูกค้าในการสร้างพื้นฐานการประมวลผลประสิทธิภาพสูงแบบข้ามโดเมน”
รูปแบบแพลตฟอร์มแบบองค์รวมสำหรับคอมพิวเตอร์ในรถยนต์แบบข้ามโดเมน
การพัฒนาคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงแบบข้ามโดเมนของคอนติเนนทอลนั้น ทำให้มีการตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่การทำงาน พร้อมกับการใช้งานแบบองค์รวม ในขณะที่ระบบสาระความบันเทิงในห้องคนขับนั้น มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน การเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้งาน การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อของยานพาหนะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความซับซ้อนและความต้องการแบบเรียลไทม์ แต่ระบบไดนามิกและความปลอดภัยในการขับขี่ รวมถึงการขับขี่อัตโนมัตินั้น มีการมุ่งเน้นไปที่ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและกฏข้อบังคับความหน่วงแฝงของรถยนต์
Continental Automotive Edge Platform มีที่มาจากระบบโมดูลาร์ที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซอฟต์แวร์ ระบบคลาวด์ ไปจนถึงการบริการและแอปพลิเคชัน โดยแพลตฟอร์มของคอนติเนนทอลจะเชื่อมต่อรถเข้ากับระบบคลาวด์ด้วยโมดูลาร์ที่ทำให้การพัฒนา การจัดเตรียม และการบำรุงรักษาระบบฟังก์ชันที่เป็นซอฟต์แวร์มากมายจากส่วนต่างๆ ของรถนั้นง่ายขึ้น ทำให้ในอนาคตผู้ใช้งานสามารถใช้งานฟังก์ชันที่ต้องการได้อย่างสะดวกสบายด้วยการอัพเดทซอฟต์แวร์ได้ตลอดอายุการใช้งานของรถ ทั้งนี้การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรมยานยนต์ที่ใช้ซอฟต์แวร์จำนวนมาก ทำให้การติดตั้งซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และรูปแบบข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้ในเวลาเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของการพัฒนาแบบเก่า และยังสามารถพัฒนารวมทั้งทดสอบและติดตั้งซอฟต์แวร์บนยานพาหนะได้โดยตรงอย่างรวดเร็วและปลอดภัย ซึ่งรับประกันความทันสมัยและเพิ่มความสามารถในการขยายให้กับรถยนต์ในอนาคตได้อีกด้วย
นอกจากนี้ คอนติเนนทอลยังได้นำเสนอเครื่องมือการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย ที่เรียกว่าชุดพัฒนา ซึ่งช่วยย่นระยะการพัฒนาของระบบรถยนต์และการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบในสถาปัตยกรรมรถยนต์แบบศูนย์รวมนี้ ทำหน้าที่เหมือนเป็นโต๊ะทำงานที่มีการแยกส่วนและมีมาตรฐาน ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาและทดสอบฟังก์ชันต่างๆ อีกทั้งการใช้ระบบคลาวด์ยังช่วยให้การทดสอบและการจำลองการทำงานของรถ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มั่นใจได้ถึงการพัฒนาที่รวดเร็วและสอดคล้องกับการบริการและแอปพลิเคชัน และช่วยให้การทำงานในยานพาหนะที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนต่างๆ ของ Continental Automotive Edge Platform นี้จึงเป็นการส่งเสริมให้กับสิ่งที่คอนติเนนทอลต้องการนำเสนอเป็นครั้งแรกในงาน CES 2022.