“เอ็ม 17” พร้อมเปิดตลาด “Live-Commerce” เจ้าแรกในประเทศไทย
บริษัท เอ็มเซเว่นทีน เอนเตอร์เทนเมนต์ กรุ๊ป (M17 Entertainment Group) ผู้นำด้านธุรกิจ Social Entertainment ของเอเชีย (ประเทศไต้หวัน) ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดย มร.โจเซฟ ฟัว (Joseph Phua) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) โดยได้ดำเนินธุรกิจ สตรีมมิ่ง แพลตฟอร์ม (Streaming Platform), แอปพลิเคชัน (Application) และโซเชียล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Social Entertainment) ในประเทศไต้หวัน จนประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว และในปัจจุบัน บริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจในอีกหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, เวียดนาม และประเทศไทยในช่วงกลางปี 2019 ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อ บริษัท เอ็มเซเว่นทีน เซอร์วิสเซส ไทยแลนด์ (M17 Services Thailand) โดยปัจจุบันมียอดผู้ใช้บริการ สตรีมมิ่ง แพลตฟอร์ม, แอปพลิเคชัน และโซเชียล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของบริษัทฯ มากกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก
นางนิธินันท์ อัศวทร Thailand Country Head บริษัท เอ็มเซเว่นทีน เซอร์วิสเซส ไทยแลนด์ กล่าวว่า “สำหรับที่มาของตัวเลข “17” มาจากวลีที่พ้องเสียงกันในภาษาจีนแปลว่า “การอยู่ร่วมกัน” (Together) ซึ่งจะเหมือนกับธุรกิจของเรา ที่ไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ หรือเวลาใด “Social Entertainment” และ “Social Media” ก็สามารถเชื่อมโยงทุกคนให้เกิดการสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้เสมอ โดยในปัจจุบันเทรนด์การซื้อขายสินค้าผ่านการแชทออนไลน์ หรือ “ซี คอมเมิร์ซ” (Conversational Commerce) กำลังเป็นเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ของคนยุคใหม่ จากผลสำรวจของเฟซบุ๊กประเทศไทย พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีใช้สื่อโซเชียลมีเดีย และมีนักช้อปผ่านช่องทางซีคอมเมิร์ซสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีมูลค่าสูงถึง 4.8 พันล้านเหรียญ และยังมีรูปแบบการซื้อขายสินค้าที่แตกแขนงออกมาจาก “ซี คอมเมิร์ซ” อีก ที่กำลังถือว่ามาแรงนั่นก็คือ รูปแบบของ “ไลฟ์ คอมเมิร์ซ” (Live-Commerce) คือการเชื่อมโยงระหว่าง โซเชียลมีเดีย, อีคอมเมิร์ซ และ สตรีมมิ่ง แพลตฟอร์ม เข้าไว้ด้วยกัน โดยผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตอบโต้สื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถเพิ่มยอดการขายให้กับผู้ขายได้มากขึ้น และบริษัทฯ มองเห็นถึงโอกาสในการทำตลาด “ไลฟ์ คอมเมิร์ซ” ในประเทศไทยให้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการรายใด ประกาศตัวทำตลาดนี้อย่างชัดเจน
บริษัท เอ็มเซเว่นทีน เซอร์วิสเซส ไทยแลนด์ จึงขอประกาศตัวเป็นผู้นำในการรุกตลาดธุรกิจ “ไลฟ์ คอมเมิร์ซ” (Live-Commerce) พร้อมเปิดตัว “แฮนด์ อัพ” (Hands Up) Live-Commerce Solutions เจ้าแรกในประเทศไทย ตัวช่วยที่จะทำให้การไลฟ์ขายของบนโลกออนไลน์ของคุณนั้น… ง่ายนิดเดียว”
นายอรรถพล สินฉลอง Marketing & Business Development Director บริษัท เอ็มเซเว่นทีน เซอร์วิสเซส ไทยแลนด์ กล่าวว่า “สำหรับ “แฮนด์ อัพ” คือรูปแบบของ “ไลฟ์ คอมเมิร์ซ” ที่ทางบริษัทได้ชูเป็นโซลูชั่นแรก ในการรุกตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย โดย “แฮนด์ อัพ” จะทำหน้าที่เป็น “ผู้จัดการระบบ” มีฟังค์ชั่นการใช้งานในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ ช่วยสนับสนุนและปิดการขายให้กับผู้ขายหรือร้านค้าบนโลกออนไลน์ที่ทำการ “ไลฟ์สด” สามารถเพิ่มยอดขายสินค้าได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มความมั่นใจและความสะดวกสบายแก่ผู้ซื้อสินค้าได้ด้วยเช่นกัน
เราต้องการทำให้ธุรกิจ “ไลฟ์ คอมเมิร์ซ” (Live-Commerce) เป็นที่แพร่หลายเช่นเดียวกับในประเทศไต้หวันและประเทศจีน ที่ธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยแพลทฟอร์ม “แฮนด์ อัพ” ได้เปิดตัวในปี 2019 มีร้านค้าที่ไลฟ์ขายของในระบบมากกว่า 7,000 ราย ในเอเชีย สำหรับการเปิดตัวในประเทศไทยครั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลุ่มเป้าหมายหลักไว้ คือ กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีประสบการณ์การขายสินค้าผ่านช่องทาง “ไลฟ์สด” บนโลกออนไลน์ หรือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมืออาชีพด้าน “ไลฟ์ คอมเมิร์ซ” มาช่วยจัดการโซลูชั่นด้านการขาย และทำการตลาดแบบครบวงจร ซึ่งบริษัทฯ ยังมีบริการ “นักไลฟ์” หรือ ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดและไลฟ์สไตล์ของผู้ซื้อ ทั้ง KOL (Key Opinion Leader) และ Influencer มาเป็นตัวช่วยรีวิวและทำการตลาดผ่านคอนเทนต์ต่างๆ ให้กับสินค้าหรือแบรนด์ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังโน้มน้าวจิตใจของกลุ่มผู้บริโภคให้หันมาสนใจสินค้าหรือแบรนด์มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในขณะเดียวกัน บริษัทยังได้เปิดช่องทางรับสมัครสำหรับผู้ที่สนใจจะเป็น “นักไลฟ์” ผ่านช่องทาง https://www.naklive.net/ เพื่อช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ แก่ผู้ที่สนใจเป็นนักไลฟ์มืออาชีพในอนาคตอีกด้วย”
“เราคาดหวังว่า จากการเปิดตัว “แฮนด์ อัพ” (Hands Up) Live-Commerce Solutions อย่างเป็นทางการในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ โดยตั้งเป้าประมาณการรายได้ในปีแรกไว้ที่ 10% ของส่วนแบ่งตลาดไลฟ์สดขายสินค้าออนไลน์ และตลาดซีคอมเมิร์ซ นอกจากนั้นเรายังคงมีเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนเครือข่ายเศรษฐกิจดิจิตัล (Digital Economy) ของประเทศไทย ให้มีการเติบโตและเข้มแข็งตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาในกลุ่มธุรกิจ SME ให้มีความสามารถในการแข่งขันได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประเทศไทยได้อีกช่องทางด้วย” คุณอรรถพล กล่าวปิดท้าย