web analytics

ติดต่อเรา

“แค่ใจก็เพียงพอ” นำของเหลือใช้มา Upcycle สร้างรายได้ให้ชุมชน

นิสสัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนปากน้ำปราณ โดยนำของเหลือใช้ในชุมชน ผ่านกระบวนความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่กลายเป็นผลิตภัณฑ์มีมูลค่า ภายใต้โครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ”

นิสสัน ร่วมกับ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กว่า 60 คน ทำงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนา และนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปขายอันก่อให้เกิดรายได้จากของเหลือใช้ในท้องถิ่น

“นิสสัน มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนได้แรงบันดาลใจจากโครงการฯ นำความมุ่งมั่น และความคิดสร้างสรรค์ ในการนำของเหลือใช้กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ มีความสวยงาม แปลกใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้อย่างแน่นอน เชื่อว่าการเรียนรู้จากโครงการนี้ จะทำให้นักศึกษาท้าทายความสามารถในสถานการณ์จริง ให้สร้างสรรค์ผลงานที่มีโดดเด่น และมีความแตกต่าง อีกทั้งได้รับประสบการณ์ในการทำงานสำหรับอาชีพที่ทุกคนเลือกในอนาคต” ปีเตอร์ แกลลี รองประธาน สายงานสื่อสารองค์กร นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว

ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ประกอบไปด้วย กระถางต้นไม้ที่ย่อยสลายได้เอง ทำจากไบโอพลาสติกและวัสดุจากธรรมชาติ เช่น กะลามะพร้าวและใบสนแห้ง แจกันทำจากขวดแก้วเหลือใช้และเชือก กระเป๋าอีโคถักด้วยเชือกหรือหนัง รองเท้า “รี-ปราณ” ทำจากของเหลือใช้และเชือกที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล กระเป๋าถือ “โคเชลล์” ทำจากกะลามะพร้าวและเชือกหรือตาข่าย โคมไฟที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงของแมงกะพรุน ทำจากอวนตาข่ายที่ไม่ใช้แล้ว

หัวหน้าและที่ปรึกษาโครงการอย่าง อาจารย์จารุพัชร อาชวะสมิต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า “นักศึกษาต้องตรวจสอบรายการวัสดุเหลือใช้ในชุมชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสองประการ คือ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ ในขณะที่ ต้องลดปริมาณของเหลือใช้ ทำให้พวกเขาสามารถประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่น่าตื่นเต้นและสร้างสรรค์ จากนั้นจึงนำเสนอและถ่ายทอดวิธีการผลิตสิ่งของเหล่านี้ให้กับชาวบ้านในชุมชน”

วัสดุส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีดีไซน์ที่สวยงาม (upcycle) นั้นเก็บมาจากบริเวณรอบ ๆ ชุมชนปากน้ำปราณ ซึ่งรวมถึงอวนตาข่าย ขวดแก้ว ถุงพลาสติก และวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบสน และกะลามะพร้าว

นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เหมือนใครผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ในโครงการนี้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนอีกด้วย

สำหรับนิสสัน โครงการฯ นี้ประกอบไปด้วยสามสิ่งสำคัญ ได้แก่ ชุมชน การทำงานร่วมกัน และการอนุรักษ์ ปีเตอร์ แกลลี ได้กล่าวเสริมไว้เพิ่มเติมว่า “นิสสัน หวังว่าโครงการเล็ก ๆ นี้จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทยในการสร้างโครงการจากท้องถิ่นที่ช่วยลดของเหลือใช้ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสในการหารายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนสำหรับพวกเขา”

 

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *