web analytics

ติดต่อเรา

KTC-VISA โกอินเตอร์ รับชำระบัตรเครดิตผ่าน QR Code ทั่วโลก

เคทีซีก้าวล้ำอีกขั้นสู่สังคมไร้เงินสดระดับอินเตอร์ โดยร่วมกับวีซ่าเปิดให้บริการรับชำระทั่วโลกเป็นรายแรกด้วยบัตรเครดิตผ่านคิวอาร์โค้ด “KTC Scan to Pay Cross Border” พร้อมมอบสิทธิพิเศษเพื่อการใช้จ่ายที่คุ้มค่าด้วยความเสี่ยงการแปลงสกุลเงินต่างประเทศไม่เกิน 2% ซึ่งต่ำที่สุดในวงการบัตรเครดิต พร้อมรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1.5% ทุกการใช้จ่าย และปลอดภัยใช้ได้ทั่วโลกตามมาตรฐานเครือข่ายวีซ่า เพื่อร่วมกันผลักดันสังคมไร้เงินสดให้เกิดขึ้นและทัดเทียมกับทั่วโลก

นายธศพงษ์ รังควร ผู้อำนวยการ ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “หลังจากเคทีซีได้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตผ่าน QR Code ซึ่งเป็นบัตรเครดิตรายแรกและรายเดียวที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ทั้งผู้ถือบัตรเครดิตและร้านค้า โดยได้รับการอนุมัติเข้า Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ได้มีสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีร่วมทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน KTC QR Code Payment ในพื้นที่ทดลองให้บริการเป็นที่น่าพอใจ และต่อไปสมาชิกเคทีซีจะสามารถทำรายการผ่านบัตรเครดิตเคทีซีโดยสแกนผ่าน QR Code ที่ร้านค้าที่วาง QR Codeของต่างสถาบันการเงินได้ รวมถึงสามารถใช้โมบายแอปพลิเคชั่นของสถาบันการเงินต่างๆ สแกน QR Code ของ KTC เพื่อทำรายการได้เช่นกัน”

นายธศพงษ์ กล่าวว่า “ล่าสุดเคทีซีได้ร่วมมือกับทางวีซ่า เปิดให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตเคทีซีวีซ่าชำระผ่าน QR Code ได้ทั่วโลก KTC Scan to Pay Cross Border” ภายใต้มาตรฐานบริการระดับโลกของเครือข่ายวีซ่า โดยประเทศที่วีซ่าอนุมัติให้สามารถใช้ QR Code ได้แล้ว คือ ประเทศเวียดนาม อินเดียและกัมพูชา โดยขึ้นอยู่กับการอนุมัติตามขั้นตอนของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นบัตรเครดิตเคทีซีสามารถชำระผ่าน QR Code ได้แล้วที่ประเทศเวียดนามตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ภายใต้การทดลองให้บริการRegulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสมาชิกสามารถสแกน QR Code ของร้านค้า และทำรายการชำระด้วยตนเองผ่านโมบายแอปพลิเคชัน “TapKTC” ง่าย ๆ ตามขั้นตอนและสามารถบริหารจัดการกำหนดยอดการใช้จ่ายผ่าน QR Code ได้ด้วยตนเอง”

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “วีซ่าขอแสดงความยินดีกับ  เคทีซีที่เป็นบัตรเครดิตรายแรกและรายเดียวในประเทศขณะนี้ที่สามารถใช้ QR Code มาตรฐานชำระเงินระหว่างประเทศได้แล้ว QR Code มาตรฐานเป็นอีกช่องทางการชำระเงินที่รัฐบาลในหลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะมีต้นทุนที่ไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางอื่น ช่วยให้ร้านค้าโดยเฉพาะรายย่อยและประชาชนเข้าถึงการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในฐานผู้บุกเบิกการชำระเงิน QR Code ที่ผูกกับบัตรเครดิต ทั้งสำหรับผู้ถือบัตรไทยไปเที่ยวต่างประเทศ หรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทย เคทีซีมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการชำระเงินผ่าน QR Code ไปสู่สากล ขณะนี้วีซ่ากำลังร่วมมือกับธนาคารและสถาบันการเงินในกว่า 20 ประเทศ เพื่อให้ร้านค้าสามารถรับเงินผ่าน QR Code มาตรฐานได้อย่างทั่วถึง และสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ใช้”

นายธศพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ชำระผ่าน QR Code ในต่างประเทศ KTC Scan to Pay Cross Border” จะได้รับสิทธิพิเศษค่าธรรมเนียมอัตราความเสี่ยงการแปลงสกุลเงินต่างประเทศไม่เกิน 2% ซึ่งต่ำกว่าบัตรเครดิตรายอื่น พร้อมรับเครดิตเงินคืน 1% ทุกการใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1.5% เมื่อใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศรวม 1,500,000 บาทขึ้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 โดยไม่จำกัดยอดรับเครดิตเงินคืน เพียงลงทะเบียนก่อนใช้จ่ายผ่าน SMS พิมพ์ “OS” เว้นวรรคตามด้วยเลขบัตรเครดิต 16 หลัก และส่งไปที่ 061-384-5000”

เคทีซีหวังว่าบริการ KTC Scan to Pay Cross Border” จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์โดยองค์รวม ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว หรือใครก็ตามที่เดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยก็จะได้รับความสะดวกสบายเช่นกัน เพียงใช้สมาร์ทโฟนที่ติดตัว ก็สามารถสแกน QR Code เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องพกพาบัตรเครดิต สำหรับสมาชิกเคทีซียังมั่นใจได้กับความปลอดภัยด้วยระบบไบโอเมทริกซ์ในการล็อกอินเข้าใช้งานบนโมบายแอปฯ “TapKTC” ที่ทางเคทีซีให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง นอกเหนือจากการเลือกสรรสิทธิประโยชน์ที่จำเป็นและตรงกับความต้องการของสมาชิก โดยมีแผนจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในการขยายการใช้จ่ายด้วย QR ไปในหมวดใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *