5 สิ่งต้องรู้ก่อนสู้สนาม Foremost IRONMAN 70.3 Thailand 2017
“ถ้าอยากแข็งแรงและสุขภาพดี ก็ต้องออกกำลังกายและเล่นกีฬา” น่าจะเป็นคำพูดที่ได้ยินกันจนติดหูจึงไม่น่าแปลกใจ ที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หากลองเดินเข้าไปในฟิตเนสหรือสวนสาธารณะจะได้เจอกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีเฮลตี้ไลฟ์สไตล์ อยู่เต็มไปหมด และล่าสุดสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพของคนรุ่นใหม่อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ การเริ่มมองหากีฬาที่ให้ ความสนุก ท้าทาย เปลี่ยนบรรยากาศการออกกำลังกายให้ตื่นเต้นยิ่งขึ้น และกีฬาที่ตอบโจทย์และเป็นตัวเลือกติดท็อปลิสต์ ของคนกลุ่มนี้ ก็คือ “ไตรกีฬา” กีฬาที่ทดสอบความแข็งแกร่งของร่างกายและจิตใจในการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองด้วยการ เล่นกีฬา 3 ประเภท ได้แก่ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และวิ่ง ต้องบอกว่ากีฬาชนิดนี้ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ทั้ง Gen Y และ Gen Z ชนิดที่ว่าบางคนยอมซื้อตั๋วบินลัดฟ้าเพื่อไปลงแข่งไตรกีฬารายการต่างๆถึงต่างประเทศกันเลยทีเดียว
ใครที่เริ่มสนใจอยากลองทดสอบความแข็งแกร่งของตัวเองด้วยการลงแข่งไตรกีฬาดูสักครั้ง บอกเลยว่าในประเทศไทยมีการแข่งขันหลายรายการมากมายให้ได้ลองชิมลาง หนึ่งในรายการที่ได้รับความสนใจจากคนไทยและชาวต่างชาติจากทั่วโลก ก็คือ “โฟร์โมสต์ ไอรอนแมน 70.3 ไทยแลนด์ 2017 (Foremost IRONMAN 70.3 Thailand 2017)” ซึ่งมี “โฟร์โมสต์” เป็นผู้สนับสนุนหลัก ในการจัดการแข่งขัน เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้คนไทย “ดื่ม ขยับ รับสุขภาพดี” ด้วยการดื่มนมควบคู่กับการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและแอคทีฟเต็มร้อย “IRONMAN” นับเป็นหนึ่งในรายการไตรกีฬาสุดหินระดับโลกด้วยการว่ายน้ำระยะทาง 1.9 กิโลเมตร ต่อด้วยปั่นจักรยานระยะทาง 90 กิโลเมตร และปิดท้ายด้วยการวิ่งระยะทาง 21 กิโลเมตรเรียกได้ว่าใครที่สามารถพิชิตสนามคนเหล็กรายการนี้ได้ก็ถือว่าได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองแล้ว
และสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง วันนี้เรามีเช็คลิสต์ 5 สิ่งต้องรู้ก่อนสู้ไตรกีฬาจากกูรูนักไตรกีฬาอย่าง “โค้ชริคกี้” หรือ นายเอกรัช พันธ์ทิพย์ หัวหน้าผู้ฝึกสอนไตรกีฬาประจำศูนย์ฝึกกีฬานานาชาติภูเก็ต ธัญญปุระ มาแชร์เทคนิคการเตรียมความพร้อมเพื่อพิชิตสนาม “โฟร์โมสต์ ไอรอนแมน 70.3 ไทยแลนด์ 2017”
ก้าวข้ามขีดจำกัดของร่างกาย ด้วยพลังใจ
เพราะคนเพียงคนเดียวต้องเล่นกีฬาถึง 3 ประเภทในการแข่งขันกับระยะทางรวมกว่าร้อยกิโลเมตร ถ้าใจไม่สู้หรือ ถอดใจกลางคันก็คงจะพาตัวเองเข้าเส้นชัยไม่ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้กำลังใจจากคนรอบข้างก็สำคัญไม่แพ้กัน เชื่อหรือไม่ว่า หนึ่งในกุญแจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬาระดับโลกหลายๆ คน ก็คือ แรงสนับสนุน จากคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ และคนใกล้ชิดนี่แหละ
ฝึกซ้อมอย่างพอดี พักผ่อนให้เต็มที่ ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
แน่นอนอยู่แล้วว่ากีฬาทุกชนิดต้องอาศัยการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ #ไตรกีฬาก็เช่นกัน เชื่อว่าหลายคนมีความมุ่งมั่น ที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่สิ่งที่นักไตรกีฬามือใหม่ควรท่องจำและทำตามให้ได้ ก็คือ การเว้นช่วง ให้ร่างกายได้พักฟื้นตัวด้วย “การพักผ่อน” ซึ่งถูกนับให้เป็นส่วนหนึ่งของตารางการฝึกไตรกีฬา ส่วนโปรแกรมการฝึกซ้อม ก็ควรเป็นแบบหนักสลับเบา เพราะต้องไม่ลืมว่าร่างกายของเรายังใหม่มากกับการท้าทายสมรรถภาพของร่างกายด้วยกีฬาสุดหินชนิดนี้ และต้องไม่ลืมที่จะดูแลร่างกายด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น “นม” ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุ ที่จำเป็นสำหรับนักกีฬา ส่วนเทคนิคเด็ดๆ ที่นักไตรกีฬามือใหม่น่าลองนำไปฝึก ก็คือ
- การฝึก “ทรานซิชั่น” (Transition): ช่วงทรานซิชั่น คือ ช่วงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนจากกีฬาประเภทหนึ่งไปเล่นกีฬา อีกประเภทยิ่งใช้เวลาช่วงทรานซิชั่นน้อยเท่าไร ก็ยิ่งได้เปรียบในการแข่งขันมากเท่านั้น เรียกว่าเป็นจุดเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น การเพิ่มการฝึกทรานซิชั่นเข้าไปในตารางการฝึกด้วย เช่น การฝึกจัดวางอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการวางจักรยานโดยหันหัวไปยังทิศที่ต้องออกตัว การวางหมวกกันน็อคให้เห็นชัดเจน หรือการวางรองเท้าวิ่งไว้ฝั่งเดียวกับจักรยาน เป็นต้น จุดเล็กๆ เหล่านี้ เป็นเทคนิคที่นักไตรกีฬามืออาชีพใช้เป็นประจำ เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึก ทำให้คล่องและราบรื่นก็จะช่วยสร้างความได้เปรียบในเรื่องของเวลาได้ไม่น้อย
- การฝึกแบบ “บริค เทรนนิ่ง” (Brick Training): คือ การฝึกกีฬา 2 ประเภทต่อเนื่องกันเพื่อทำให้กล้ามเนื้อเกิด ความเคยชิน เพราะการแข่งกีฬาแต่ละประเภทจะใช้กล้ามเนื้อคนละส่วนกัน ถ้าฝึกกีฬาแต่ละประเภทแยกกัน เมื่อถึงช่วงการแข่งขันจริงอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้ เพราะร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ทัน รูปแบบการฝึก Brick Training ที่นิยมทำกัน ก็คือ ฝึกปั่นจักรยานแล้วต่อด้วยการวิ่ง
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ใช้ทุกอย่างให้เคยชิน
อุปกรณ์สำคัญที่นักไตรกีฬาทุกคนควรเตรียมให้พร้อมในระหว่างการแข่งขัน ก็คือ แว่นตาว่ายน้ำที่ปรับสายให้พร้อมใช้ หมวกว่ายน้ำ หมวกกันน็อค รองเท้าสำหรับปั่นจักรยาน ตัวจักรยานก็ต้องเช็คลมยาง ระบบเกียร์และเบรกให้เรียบร้อย ส่วนรองเท้าวิ่งก็ต้องเหมาะกับรูปเท้าของตัวเอง ซึ่งอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้แข่งควรเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกซ้อมเป็นประจำ เพราะการใช้อุปกรณ์ใหม่ในวันแข่ง ร่างกายอาจจะไม่เคยชินซึ่งจะส่งผลกระทบกับการแข่งของเราได้ อย่างเช่น รองเท้าวิ่งคู่ใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
“ตะคริว” เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
อาการบาดเจ็บที่นักไตรกีฬามือใหม่จนถึงระดับแนวหน้าเจอบ่อยที่สุดในระหว่างการแข่งขัน ก็คือ “ตะคริว” เพื่อป้องกัน การเป็นตะคริวระหว่างการแข่งขัน ก่อนเริ่มแข่งควรวอร์มร่างกายและยืดกล้ามเนื้อให้พร้อม ระหว่างการแข่งควรจิบน้ำและเกลือแร่ตลอดเพื่อให้ร่างกายสดชื่นเสมอ แต่ถ้าหากเกิดอาการตะคริวขึ้นในระหว่างการแข่งวิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ ยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อคลายตัวขึ้นจึงค่อยกลับมาแข่งขันต่อด้วยจังหวะเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อปรับสภาพ ทั้งนี้ หลังเข้าเส้นชัยแล้วก็ต้องอย่าลืม “คูลดาวน์” (Cool Down) ร่างกายด้วยเช่นกัน
ยิ่งกว่าความสำเร็จ คือ “ความภาคภูมิใจ มิตรภาพ และสุขภาพที่ดี”
หลังจากที่ได้สัมผัสกับความท้าทายที่ทรหดตลอดการแข่งขันแล้ว เชื่อเถอะว่าไม่มีอะไรจะทำให้หัวใจของคุณเต้นแรงได้เท่ากับ “ความภาคภูมิใจ” ที่ได้เอาชนะใจของตัวเองในการก้าวข้ามขีดจำกัดจนสามารถพาตัวเองก้าวเข้าสู่เส้นชัยพร้อมกับเพื่อนๆ อีกนับพันคน รวมไปถึงมิตรภาพจากเหล่านักไตรกีฬาที่คอยเชียร์และให้กำลังใจกันตลอดการแข่งขัน และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ที่ไม่ว่าจะมีเงินมากแค่ไหนก็หาซื้อไม่ได้อย่างแน่นอน
เมื่อร่างกายพร้อม จิตใจเข้มแข็งและมีความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อม ถึงจะเป็นเพียงแค่มือสมัครเล่นก็สามารถผ่านสนามแข่งสุดโหดได้อย่างแน่นอน “โฟร์โมสต์ ไอรอนแมน 70.3 ไทยแลนด์ 2017” จะจัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 ณ หาดบางเทา จ.ภูเก็ต ติดตามรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่:
http://asia.ironman.com/triathlon/events/asiapac/ironman-70.3/thailand.aspx#axzz4uhC4KHbS