web analytics

ติดต่อเรา

บสย. ลงพื้นที่ เชียงใหม่ กระตุ้น 18 ธนาคาร ปล่อยสินเชื่อ SMEs

บรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  เดินแผนกระตุ้น 18 ธนาคารพันธมิตร ปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ วงเงิน 81,000 ล้านบาท หลังบรรลุข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่างรัฐบาล -บสย.และ ธนาคาร ร่วมกันผลักดัน โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ทวีทุน (PGS ระยะที่ 6) ปรับปรุงใหม่   ซึ่งรัฐบาล และธนาคารพันธมิตร ร่วมกันจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกัน แทนผู้ประกอบการ SMEs  4 ปีแรก  มั่นใจ สร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 371,000 ล้านบาท

นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ตลอดเดือนกันยายนนี้  ได้วางแผนการทำตลาดเชิงรุกกับ 18 ธนาคารพันธมิตร  เพื่อร่วมกันผลักดันยอดค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน  81,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ตามนโยบายรัฐบาล   โดยล่าสุดได้มอบหมายให้ ฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และฝ่ายกิจการสาขา  ลงพื้นที่ 3 จังหวัดใหญ่ของประเทศ คือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างการรับรู้ ขับเคลื่อน และกระตุ้น 18 ธนาคารพันธมิตร ที่ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  เร่งปล่อยสินเชื่อ  และการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ทวีทุน (PGS ระยะที่ 6) ปรับปรุงใหม่   ให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อมากที่สุด

แผนการกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ ประกอบด้วย การสัมมนาธนาคารพันธมิตร มุ่งเน้นเนื้อหาประโยชน์ของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ทวีทุน หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายและประหยัดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี ในการลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา

สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจสูง ด้วยกำลังการผลิต การต่อยอดขยายกิจการ ระดับเงินทุนหมุนเวียน  รองรับการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวและโรงแรม  ภาคบริการ ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ภาคการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และภาคการเกษตร  มั่นใจว่าโครงการค้ำประกันสินเชื่อ  SMEs ทวีทุน (PGS ระยะที่ 6) ปรับปรุงใหม่ จะเป็นกลไกสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่ และภาพรวมของประเทศมากขึ้น    โดยบสย.ได้เตรียมลงพื้นที่ในจังหวัดสงขลา ในวันที่ 22 กันยายน 2560

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs  ทวีทุน (PGS ระยะที่ 6) ปรับปรุงใหม่ วงเงิน 81,000 ล้านบาท ผ่านความเห็นชอบตามมติครม.เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม และเริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 11 สิงหาคม  ที่ผ่านมา โดยมี 18 ธนาคารพันธมิตรร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU)

สาระสำคัญของโครงการคือ เป็นความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วนคือ รัฐบาล บสย.และธนาคาร ร่วมกันผลักดันมาตรการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs  กล่าวคือ ทั้งรัฐบาลและธนาคารพันธมิตร ร่วมกันรับภาระจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs  4 ปีแรก (รวม7%)   โดยตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไปผู้ประกอบการ SMEs เป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมในอัตรา 1.75% ต่อปีของวงเงินค้ำประกัน โดย บสย.ได้เพิ่มสัดส่วนการจ่ายค่าประกันชดเชยให้ธนาคารจาก 23.75% เป็น 30%

อัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ที่รัฐบาลและธนาคารพันธมิตรจ่ายแทนSMEs

ปีที่

รัฐบาล

สถาบันการเงิน

1

1.75%

2

1.25%

0.50%

3

0.75%

1.00%

4

0.25%

1.50%

รวม

4.00%

3.00%

“มาตรการนี้จะส่งผลในเชิงเศรษฐกิจตลอดครึ่งปีหลัง สามารถช่วยให้ SMEs ได้รับสินเชื่อรวมกว่า 27,000 ราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินประมาณ 136,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มรวมประมาณ 108,000 คนและสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 371,000 ล้านบาท“ นายนิธิศกล่าว

สำหรับธนาคารพันธมิตรที่ร่วมโครงการ SMEs ทวีทุน (PGS ระยะที่ 6)

www.kasikornbank.com/” ธนาคารกสิกรไทย

www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/Pages/homepage.aspx” ธนาคารกรุงเทพ

www.ktb.co.th/ktb/th/index.aspx” ธนาคารกรุงไทย

www.krungsri.com/bank/th/home.html” ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

www.kiatnakin.co.th/” ธนาคารเกียรตินาคิน

www.cimbthai.com/” ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

www.thanachartbank.co.th/” ธนาคารธนชาต

www.tmbbank.com/” ธนาคารทหารไทย

www.tisco.co.th/” ธนาคารทิสโก้

www.scb.co.th/” ธนาคารไทยพาณิชย์

www.tcrbank.com/” ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย

www.smebank.co.th/th/index.php” ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อมแห่งประเทศไทย

www.baac.or.th/index.php” ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

www.exim.go.th/index.aspx” ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

www.uob.co.th/” ธนาคารยูโอบี

www.lhbank.co.th/” ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

www.ibank.co.th/” ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

www.gsb.or.th/” ธนาคารออมสิน

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *