ฟอร์ด ทดสอบนวัตกรรมใหม่ มุ่งยกระดับการสัญจรประจำวันให้ดียิ่งขึ้น
- ฟอร์ดทดสอบนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่หลีกเลี่ยงไฟแดง ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางประจำวันได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์
- ฟอร์ดทดสอบนวัตกรรมที่ใช้ชื่อว่า “Vehicle to Infrastructure หรือ V2i” ที่สามารถปฏิวัติการเดินทางในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สัญจรนับล้านคนในเมืองทั่วทวีปเอเชีย และจะช่วยลดเวลาการเดินทางบนท้องถนนกว่า 20 นาทีต่อวัน
- นวัตกรรมสำหรับอนาคตที่สามารถเชื่อมต่อรถยนต์กับข้อมูลจากระบบการจราจร จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ลดความเครียด ประหยัดเวลาในการเดินทางและพลังงาน รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซไอเสียได้อีกด้วย
ปัจจุบัน ผู้สัญจรในเมืองหลวงทั่วทวีปเอเชียต่างใช้เวลาส่วนใหญ่บนท้องถนนเพื่อรอสัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนเป็นไฟเขียว ฟอร์ดจึงได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อสานฝันของคนเมืองให้กลายเป็นความจริง
ฟอร์ดเชื่อว่า ผู้ขับขี่ในอนาคตสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อลดเวลาในการรอสัญญาณไฟจราจร และลดเวลาในการเดินทาง สำหรับผู้ขับขี่ในทวีปเอเชียที่ใช้เวลากว่า 20 นาทีต่อวัน ในการรอสัญญาณไฟจราจร เทคโนโลยีที่ฟอร์ดได้พัฒนาขึ้นจะมีบทบาทในการช่วยลดปัญหาการจราจรการติดขัดได้ในชีวิตประจำวัน
วิศวกรแผนการสัญจรอัจฉริยะของฟอร์ดได้ทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “Vehicle to Infrastructure หรือ V2i” ที่สามารถเชื่อมต่อยานพาหนะกับระบบการจราจร ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบในสนามทดลอง รวมทั้งโซนทดสอบในเมืองเซียงไฮ้ ที่สามารถแชร์ข้อมูลของระบบและสภาพจราจรโดยตรงไปยังรถยนต์ที่ใช้สำหรับการทดสอบในครั้งนี้
“ลองจินตนาการถึงการสัญจรประจำวันที่ใช้เวลารอสัญญาณไฟแดงที่น้อยลง คุณจะมีเวลามากขึ้นในแต่ละวัน โดยเทคโนโลยี V2i ที่กำลังถูกพัฒนาจะช่วยให้การสัญจรสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น” ทอมมัส ลูคัสเซวิก ผู้จัดการฝ่ายการขับเคลื่อนอัตโนมัติประจำภูมิภาคยุโรปและประเทศจีน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว
ระบบให้คำปรึกษาเรื่องความเร็วของสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสมที่สุด
หากนวัตกรรมดังกล่าวของฟอร์ดผ่านการทดสอบและนำมาใช้จริง รถยนต์ในอนาคตจะถูกติดตั้งด้วยระบบให้คำปรึกษาเรื่องความเร็วรถกับสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสมที่สุด หรือ Traffic Light Optimal Speed Advisory (TLOSA) อย่างที่ได้อธิบายไว้ในวีดีโอนี้ ซึ่งเป็นระบบที่รายงานผู้ขับขี่เกี่ยวกับอัตราความเร็วที่ปลอดภัยที่สุด เพื่อช่วยลดเวลารอสัญญาณไฟแดง โดยตรวจสอบข้อมูลจากระบบขนส่งและระบบสัญญาณไฟจราจร
รถฟอร์ดที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ได้รับการติดตั้งตัวรับ-ส่งสัญญาณที่ซ่อนไว้ในกระโปรงหลังรถ ดีไวซ์ดังกล่าวสามารถแนะนำความเร็วรถที่เหมาะสมที่สุดกับสัญญาณไฟจราจร ผ่านทางเสียงและหน้าจอแสดงผล
ระบบเชื่อมต่อดังกล่าวอาศัยการทำงานของเครื่องมอนิเตอร์การจราจรที่ติดตั้งบนถนนและตัวส่งข้อมูลที่มีอยู่ในสัญญาณไฟจราจรและป้ายบอกทางเหนือศีรษะ เพื่อเก็บและแชร์ข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์ โดยระบบ TLOSA จะใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อคำนวณอัตราความเร็วที่เหมาะสมสำหรับการขับขี่ เพื่อลดระยะเวลาการรอสัญญาณไฟแดง
นวัตกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการยกระดับการใช้ชีวิตของทุกคน โดยฟอร์ดได้เพิ่มการลงทุนถึง 3 เท่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ ที่ช่วยบรรเทาความเครียดจากสถานการณ์ที่ท้าทาย เช่น การถอยจอดขนานฟุตบาท การควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางและการจัดการความเร็ว
“เราเชื่อว่า ลูกค้าของเราจะต้องชอบนวัตกรรมดังกล่าวอย่างแน่นอน” ลูคัสเซวิก กล่าว “ลองคิดดูว่า คุณสามารถนำเวลามาทำอะไรได้บ้างแทนการรอสัญญาณไฟจราจร”
หากมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เทคโนโลยี V2i จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านการบริหารความคล่องตัวการจราจร
“นวัตกรรม V2i จะเกิดประโยชน์มากที่สุด ถ้าผู้ผลิตรถยนต์และหน่วยงานภาครัฐด้านการคมนาคมหันมาใช้นวัตกรรมดังกล่าว” ลูคัสเซวิก กล่าว
สัญญาณไฟแดง
การรอสัญญาณไฟแดงไม่ใช่ช่วงระยะเวลาที่ทรมานที่สุดของผู้สัญจร
การสำรวจล่าสุดในสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า การหยุดรอสัญญาณไฟแดงตลอดทางใช้เวลา 1 ใน 5 ของการเดินทางทั่วไป1
จากรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลกของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการจราจร INRIX ประจำปี 2016 (Global Traffic Scorecard Report2016) กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่รถติดที่สุดในทวีปเอเชีย โดยชาวกรุงเทพฯ เสียเวลาเฉลี่ยราว 64.1 ชั่วโมงไปกับรถติดบนถนนในปีที่ผ่านมา 2
หากสามารถลดระยะเวลาการรอสัญญาณไฟแดงได้ การเดินทางของผู้สัญจรในเมืองในทวีปเอเชียสามารถประหยัดเวลาได้มากถึง 75 ชั่วโมงต่อปี