แห่งใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง อย่างเป็นทางการ โดยศูนย์จัดจำหน่ายและบริการแห่งใหม่นี้จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ โซลูชั่นส์ การบริการ และเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอันทันสมัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทผู้ผลิตชั้นแนวหน้าที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่อยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ
การผลิตในยุคอุตสาหกรรม 4.0 เน้นย้ำความสำคัญของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ ที่ต้องมาพร้อมกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณหรือตัวเซ็นเซอร์ ซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นส์ต่างๆ ที่จำเป็น โดยถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกับระบบไอทีต่างๆ อย่างแนบเนียน เทคโนโลยีอัจฉริยะของบ๊อชสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้ด้วยการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรแบบเรียลไทม์ การประเมินผลที่มีความยืดหยุ่นและตัวเลือกการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการแจ้งเตือนที่ตรงจุดและทันท่วงทีไปยังผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ตัวเซ็นเซอร์ต่างๆ จะเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรแล้วแปลงเป็นข้อมูลภาพที่จำเป็นส่งไปยังแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เซิร์ฟเวอร์ภายใน และในระบบคลาวด์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการซ่อมบำรุงได้ในทุกๆ ที่ และทุกเวลา
นอกจากนี้ ศูนย์จัดจำหน่ายและบริการแห่งนี้ยังให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อดำเนินงานโครงการอย่างครบวงจรรวมถึงตัวอาคาร เพื่อให้บริการ นำส่ง ติดตั้ง และดูแลรักษาด้านโซลูชั่นส์เบ็ดเสร็จซึ่งปรับตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า
“การลงทุนสร้าง ‘ศูนย์จัดจำหน่ายและบริการ’ แห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในเจตจำนงอย่างต่อเนื่องของเราที่จะลงทุนและดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงประสบการณ์ที่ช่ำชองของเรา ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการตามแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลไทย” มร.โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการบ๊อช ประเทศไทย กล่าว “เราช่วยให้อุตสาหกรรมไทยก้าวไปข้างหน้าด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญระดับโลกผสานกับนวัตกรรมและความยืดหยุ่นในการออกแบบระบบโซลูชั่นส์และการบริการที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับความต้องการของตลาด โดยจะยังคงมุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถในการผลิต รวมถึงช่วยลดต้นทุนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ให้กับบริษัทผู้ผลิต” มร. โจเซฟ ฮง กล่าวเสริม
ทั้งนี้ ศูนย์จัดจำหน่ายและบริการแห่งใหม่ ยังมีการนำเสนออุปกรณ์อัจฉริยะหลายชนิดเป็นครั้งแรก อาทิ Nexo: เครื่องขันน๊อตแบบไร้สาย, APAS Assist: หรือหุ่นยนต์ช่วยงานที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ความปลอดภัยเมื่อใกล้สัมผัสมนุษย์, XDK: อุปกรณ์แบบไร้สายที่มาพร้อมกับเซ็นเซอร์ 8 ตัว, IoT-Gateway for PLC สำหรับเครื่องควบคุมกระบวนการทำงานที่สามารถตั้งโปรแกรมได้, Active cockpit หรือแพลตฟอร์มการสื่อสารแบบอินเทอร์แอคทีฟสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต และอีกมากมาย
กลุ่มลูกค้าอันหลากหลายของ บ๊อช เร็กซ์รอธ ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัทผู้ผลิตต่างๆ ในแวดวงยานยนต์ เหล็กกล้า อาหารและบรรจุภัณฑ์ เกษตรกรรม การขนถ่ายวัสดุ และการขึ้นรูปพลาสติก ที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบหลายประการของอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (connected industry) และการผลิตแบบเน็ตเวิร์ค โปรดักชั่น (networked production) ทั้งนี้ บริษัทเหล่านี้และรายอื่นๆ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังข้ามผ่านขั้นตอนของการรับรู้และการจดจำในระดับพื้นฐานในด้านเทคโนโลยีอันทันสมัย ไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคนในการทำงาน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน ด้วยการเชื่อมโยงโลกแห่งความเป็นจริงที่ทุกอย่างจับต้องได้ อาทิ สินค้า เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับโลกดิจิทัล จะทำให้บริษัทต่างๆ สามารถคำนวณประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างชัดเจนในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชน นับตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการบูรณาการวัสดุ ไปจนถึงการจัดส่งสินค้าอันเป็นการสิ้นสุดซัพพลายเชน
อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ (smart manufacturing) จะเพิ่มผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวม ลดตารางเวลาที่เครื่องจักรไม่ทำงานและเวลาการซ่อมแซมเครื่องจักร และยังช่วยลดขั้นตอนด้านโลจิสติกส์และเวลาจัดเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินงาน ในขณะเดียวกัน ยังช่วยบำรุงรักษาเครื่องจักรในเชิงป้องกัน และทำให้สามารถจัดตารางการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กล่าวโดยรวมแล้ว แรงกดดันด้านต้นทุนและการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตจะยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้บริษัทผู้ผลิต เช่นเดียวกับแรงกดดันจากกลยุทธ์ในการเพิ่มคุณภาพและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
“เฉกเช่นเดียวกับบริษัทผู้ผลิตในทั่วโลก บริษัทผู้ผลิตชั้นนำในประเทศไทย ต่างมีความตื่นตัวที่จะนำเอาเทคโนโลยีและโซลูชั่นส์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมาทำงานควบคู่ไปกับคน เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในหลากหลายมิติของการผลิตเชิงอุตสาหกรรม” มร. ลาร์ส แลงเนอร์ ผู้จัดการทั่วไป บ๊อช เร็กซ์รอธ ประเทศไทย กล่าว
“เราประจักษ์ถึงความพยายามร่วมกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมจากช่วงเริ่มต้นที่เป็นการทำสัญญาจ้างผลิตด้วยต้นทุนต่ำ ไปสู่การเป็นพันธมิตรด้านการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในแวดวงอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ตระดับโลกในทุกวันนี้ เราให้การสนับสนุนนโยบาย ‘ประเทศไทย 4.0’ โดยให้คำปรึกษาแก่บริษัทผู้ผลิตในประเทศ ให้ค้นพบหนทางที่เหมาะสมในการนำพาธุรกิจเข้าสู่โลกแห่งการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต โซลูชั่นส์ต่างๆ ของเราเป็นแบบโมดูล่าร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยต่างๆ และสามารถปรับขนาดได้ตามความเหมาะสม ไล่เรียงตั้งแต่การปรับปรุงพื้นที่นำร่องขนาดเล็ก ไปจนถึงการสร้างเครือข่ายการผลิตระดับสากล ทั้งนี้ เราสามารถต่อยอดโซลูชั่นส์ต่างๆ ที่มีอยู่ของเรา เพื่อปรับให้เข้ากับความต้องการและความจำเป็นต่างๆ สำหรับการเติบโตของลูกค้า เพื่อสามารถควบคุมการลงทุนและความเสี่ยงต่างๆ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลได้ในเวลาเดียวกัน” มร. แลงเนอร์ กล่าวเสริม
Comments
comments