web analytics

ติดต่อเรา

“แฮปปี้เฟรช” ลุยลงทุนเพิ่มมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทในปี 2560 ปรับกลยุทธ์ รุกธุรกิจในไทยให้เติบโตเพิ่มขึ้นอีก 500 %

เบนจมิน โคลล์แมนน์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทและอดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของสำนักงานใหญ่ ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2559  กลับเข้าทำงานกับแฮปปี้เฟรชอีกครั้งในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี 2560 เปิดเผยว่า

“สำหรับปี 2560 นี้ ได้วางแนวกลยุทธ์หลักเน้นไปที่การสร้างการรับรู้ของแบรนด์และส่งเสริมการตลาดของธุรกิจแฮปปี้เฟรช เพื่อตอกย้ำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในระดับกว้างมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปรับจุดตำแหน่งแบรนด์แฮปปี้เฟรช ให้กลายเป็นเจ้าตลาดซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์อันดับหนึ่งของคนกรุงเทพฯ ภายใต้สโลแกน  Bangkok’s #1 online supermarket

ในขณะที่ โคลล์แมนน์ ได้ระบุว่าขณะนี้ แฮปปี้เฟรชได้กลายเป็นผู้ครองตลาดในกลุ่มผู้ให้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ที่ปัจจุบันมีรายการสินค้าบนแพลตฟอร์มจำหน่ายมากที่สุด และบริการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วที่สุดในกรุงเทพฯ เขายังได้เปิดเผยต่อไปอีกด้วยว่า บริษัทยังคงตั้งเป้าหมายการขยายธุรกิจอย่างดุดันและได้วางแผนที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2560

เพื่อบรรลุเป้าหมาย ทางแฮปปี้เฟรชได้ลงทุนเพิ่มอีกกว่า 200 ล้านบาทในปีนี้ พร้อมทั้งเพิ่มทีมงานจัดส่งสินค้าขึ้นเป็นอีกกว่า 3 เท่า นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในช่วงกลางเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้ปรับคุณภาพการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าทันเวลาขึ้น มากกว่าจากเดิมถึง 90 %

อีกทั้งบริษัทฯ ยังเป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรกับซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำใหม่ๆ หลายแห่ง เพื่อเพิ่มปริมาณรายการสินค้า อาทิ จาก เทสโก้ โลตัส ที่นำเสนอรายการสินค้าบนแฮปปี้เฟรช จากเดิม 8,000รายการ เพิ่มเป็น 20,000 รายการ เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าแฮปปี้เฟรชมีรายการสินค้าที่ให้บริการมากกว่าทางเทสโก้ โลตัส มีบริการผ่านระบบออนไลน์ของตนเองเสียอีก

ในปัจจุบันบริษัทแฮปปี้เฟรช ประเทศไทย ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรกับซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหลายแห่ง อาทิ  Gourmet Market (The Mall Group) Tesco Lotus และ Big C โดยนำเสนอรายการสินค้าจากร้านค้าปลีกของพันธมิตรอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ของสดและของแช่แข็ง พร้อมบริการจัดส่งในวันเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรด้านบริการสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ  ได้แก่ Bei Otto German Delicatessen, Company B, Sunshine Market, Jagota Gourmet Experience, Food Glorious Food, Wine Now และกลุ่มร้านค้าเฉพาะ อีกมากมาย อาทิเช่น สินค้าออร์แกนิก สินค้าอาหารและเครื่องดื่มนำเข้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แอพพลิเคชั่นบนมือถือและเว็บไซต์ของแฮปปี้เฟรชนั้นมีให้เลือกใช้บริการได้ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทย  ซึ่งแฮปปี้เฟรช ได้ให้บริการกับลูกค้าหลากหลายอาชีพและอายุ โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่บ้านยังสาว กลุ่มคนทำงานวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีเวลาว่าง ไปจนถึงลูกค้าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ

โดยลูกค้าส่วนใหญ่นั้นมีอายุอยู่ระหว่าง 25-45 ปี   นอกจากนั้นแล้ว แฮปปี้เฟรชมีบริการจัดส่งสินค้ากระจายทั่วพื้นที่ทุกเขตของกรุงเทพฯ และจุดที่เรียกใช้บริการจัดส่งเป็นจำนวนมากที่สุด คงยังเป็นบริเวณใจกลางกรุงเทพฯ  อาทิเช่น สุขุมวิท  สีลม สาธร และพื้นที่ข้างเคียง  เป็นต้น

เบนจมิน โคลล์แมนน์  กล่าวว่า “แฮปปี้เฟรชมีความได้เปรียบเหนือธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์เจ้าอื่นๆ ในแง่ของรายการสินค้าที่มีให้บริการ คุณภาพสินค้าที่คัดสรรจากหน้าร้านและความรวดเร็วในการจัดส่ง เพราะเราทำงานร่วมกับหุ้นส่วนหลายๆแห่ง เราจึงสามารถนำเสนอรายการสินค้าให้เลือกสรรมากกว่า 100,000 รายการ จากตั้งแต่สินค้าสดและแช่แข็ง อาหารและเครื่องดื่ม อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ขนมขบเคี้ยว ของหวาน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ของใช้ในบ้าน  ทุกรายการที่คุณสามารถซื้อหาได้จากหน้าร้านค้าจริงของหุ้นส่วนของเรา คุณก็สามารถซื้อหาสินค้าดังกล่าวได้ผ่านทางแฮปปี้เฟรชด้วยเช่นกัน

เรายังมี Personal Shoppers ที่ได้รับการอบรบ ฝึกฝน จนมีความชำนาญเป็นพิเศษในการคัดสรรแต่สินค้าคุณภาพดีที่สุดให้กับลูกค้า กลุ่มPersonal Shoppers ของเราจะต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มงวด เพื่อมั่นใจได้ว่าพวกเขาจะสามารถคัดเลือกสินค้าที่สดใหม่และมีคุณภาพดีที่สุด พวกเขายังจะคอยแจ้งให้ลูกค้าทราบกรณีสินค้าตัวไหนที่หมดจากหน้าร้าน และพร้อมกันนั้นก็จะนำเสนอตัวเลือกทดแทนที่เหมาะสมอีกด้วย

ด้วยความที่เรามีพนักงานส่งสินค้าของเราเอง จึงสามารถจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้รวดเร็ว สดและใหม่ ภายใน  1 ชั่วโมง หรือตามแต่ลูกค้าจะเลือกและกำหนดเวลาในการจัดส่ง ทั้งภายในวันเดียวกัน ในวันรุ่งขึ้น หรือวันไหนก็ได้ ตามสะดวก โดยสามารถจองวันและเวลาจัดส่งล่วงหน้าได้ถึง 6 วัน”

ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของบริษัทแฮปปี้เฟรช ยังได้กล่าวต่อไปอีกด้วยว่า “ในปีนี้กลยุทธ์การตลาดของบริษัทในไทยจะรุกการตลาดมุ่งเน้นการตลาด Performance Marketing และ Content Marketing เป็นหลัก  พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอื่นๆ ควบคู่กันไป เพื่อเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการรับรู้ระดับกว้างมากขึ้น

ด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในประเทศไทยนั้นมีโอกาสเติบโตสูงมาก โดยผู้บริโภคสลับเปลี่ยนการซื้อสินค้าจากช่องทางออฟไลน์มาสู่ช่องทางออนไลน์มากกว่าเมื่อก่อน เนื่องจากผู้คนจะเริ่มตระหนักถึงความสะดวกและการประหยัดเวลาในการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น  เช่นเดียวกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกาแม้กระทั่งประเทศจีน ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 10 – 15 %

เราคาดหวังว่าจะได้เห็นการเติบโตที่คล้ายกันนี้ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แม้ว่าในปัจจุบันส่วนแบ่งทางการตลาดออนไลน์ ของเราจะยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ถ้าหากว่าพิจารณาศักยภาพในการเติบโตเช่นนี้กับข้อเท็จจริงที่ว่าการใช้จ่ายซื้อสินค้าในภาคครัวเรือน สินค้าประเภทของชำ ร้านค้าปลีก นั้นมีอัตราสูงกว่า การซื้อสินค้าในกลุ่มแฟชั่นหรืออิเล็กทรอนิกส์กว่า 5 เท่า

โอกาสทางธุรกิจดังกล่าวจึงค่อนข้างชัดเจน นี้คือความเชื่อมั่นของเราที่กิจการค้าปลีกผ่านระบบออนไลน์นั้นจะยังคงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วไปอีกหลายเท่าตัว ที่เราจะได้เห็นพัฒนาการอย่างมหาศาล ในภาคส่วนนี้ อีกในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า

สำหรับปี พ.ศ. 2560 ดูเหมือนว่าทาง แฮปปี้เฟรช จะได้ปรับกลยุทธ์การตลาด และได้เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และได้วางแผนที่จะเปิดตัวแคมเปญการตลาดเพิ่มเติมอีกหลายๆ โครงการ ผ่านทั้งทางช่องทางการตลาดออนไลน์และออฟไลน์

โดยช่องทางออฟไลน์นั้นก็รวมถึง การจัดงานกิจกรรมกระตุ้นการขาย การเข้าร่วมหุ้นส่วนกับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชื่อดังทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ และรวมถึงการร่วมมือกับเหล่าผู้มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมให้ชาวกรุงเทพ ฯ ได้เห็นและได้ยินเกี่ยวแฮปปี้เฟรชมากยิ่งขึ้นในปีนี้อย่างแน่นอน!” เบนจมิน โคลล์แมนน์ กล่าวสรุป

ผลการสำรวจกลุ่มลูกค้าของแฮปปี้เฟรชเผยให้เห็นว่าสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์นั้นมียอดการสั่งซื้อเป็นจำนวนสูงกว่าลูกค้าระบบออฟไลน์ โดยหลักๆ แล้วก็เนื่องมาจากความง่ายและรวดเร็วกว่า รวมถึงความสะดวกสบายของการได้รับสินค้าทุกอย่างจัดส่งให้ถึงประตูบ้านและไม่ต้องแบกกลับมาบ้านเอง ดังนั้นแอพพลิเคชั่น “แฮปปี้เฟรช” จึงไม่มียอดการสั่งซื้อขั้นต่ำ สามารถสั่งซื้อได้ตั้งแต่ 100  บาทจนถึง 20,000 บาท หรือสูงกว่านั้น

โคลล์แมนน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ลูกค้าช็อปปิ้งผ่านแอพพลิเคชั่นโดยเฉลี่ยของแฮปปี้เฟรชนั้นอยู่ราวๆ 2,000 บาท โดยมีบางรายการสั่งซื้อสูงถึง 20,000 บาทต่อ 1 ออเดอร์ ก็มี อีกหนึ่งข้อดีของแฮปปี้เฟรชคือการรับประกันคุณภาพของสินค้า หากลูกค้าไม่พอใจกับบริการหรือคุณภาพของสินค้าสามารถคืนสินค้าได้ในทันที

ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยประกอบการตัดสินใจหลักสำหรับลูกค้าหน้าใหม่ในการเลือกลองใช้บริการของแฮปปี้เฟรชเป็นครั้งแรก และอีกจุดแข็งของเราคือความเป็นมืออาชีพของพนักงาน personal shoppers และพนักงานจัดส่งสินค้า อ้างจากสถิติการร้องเรียนของลูกค้าก็จัดว่าอยู่ในระดับที่ไม่ถึง 0.1เปอร์เซ็นต์จากทุกออเดอร์ ”

ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “แฮปปี้เฟรช” ได้แล้ววันนี้ทั้งระบบแอนดรอยด์  ผ่านทาง Google Play Store บนระบบ iOS ผ่านทางApple App Store หรือสั่งซื้อสินค้าโดยตรงบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัทที่ : https://www.happyfresh.co.th/

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *