OCS ชูนวัตกรรม TFM ตัวช่วยใหม่ยกระดับมาตรฐานโรงงานสีเขียว ยุคไทยแลนด์ 4.0
หลายครั้งที่ปัญหาขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและชุมชนท้องถิ่นกลายเป็นประเด็นลุกลามใหญ่โต เนื่องมาจากผลกระทบด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ “การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)” จึงกลายมาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญระดับประเทศที่รัฐบาลพยายามผลักดันในช่วงหลายปีมานี้จนกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ
เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับความเจริญของชุมชนและยังคงรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้ชุมชนและโรงงานอยู่ร่วมกันได้เป็นปกติสุข เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนให้เกิดขึ้นจริงอย่างยั่งยืน
คณาธิศ เกิดคล้าย ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมอุตสาหกรรม ได้ย้ำถึงกุญแจสำคัญของเรื่องนี้ระหว่างงานเสวนาวิชาการจากมุมมองผู้บริหารในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งจัดโดยบริษัท รักษาความปลอดภัย พีซีเอส และฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด ณ สนามกอล์ฟอมตะสปริง คันทรีคลับ จ.ชลบุรีว่า
“แนวคิดการพัฒนานี้จะเป็นไปได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานราชการท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน ชุมชนคนในพื้นที่เอง รวมถึงภาคการศึกษา ร่วมมือกันจัดทำแผนพัฒนาและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมด้านองค์ความรู้เพื่อเติมเต็มจุดแข็งจุดด้อยแก่กัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความโปร่งใสและความไว้วางใจระหว่างกัน ช่วยลดข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในพื้นที่ลงได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ต่างประเทศก็ยอมรับและปฏิบัติกันมานานแล้ว”
ทั้งนี้ กรอบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ กายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ ดังนั้น กรมอุตสาหกรรมจึงแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ อาทิ ในมิติสิ่งแวดล้อมก็ส่งเสริมการพัฒนาโรงงานสีเขียว และในฝั่งของประชาชนก็ต้องส่งเสริมสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างเช่นการกำจัดขยะให้ควบคู่กันไป
หรือพัฒนาฝีมือแรงงานเกษตรในพื้นที่ให้มีทักษะด้านการผลิตเพิ่มเติมเพื่อให้มีงานทำมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาที่ผ่านมาในพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมเช่นระยอง ถือว่าผลลัพธ์ดีมาก เพราะช่วยลดข้อขัดแย้งได้จริง”
บุญเกียรติ วิสิทธิกาศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการอาคารแบบครบวงจร บริษัท โอซีเอส อาร์โอเอช จำกัด กล่าวเสริมต่อว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทรนด์การพัฒนาโรงงานสีเขียวอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับคุณภาพ ยิ่งไทยกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0 ที่เน้นการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน การนำนวัตกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการอาคารแบบครบวงจร (Total Facilities Management: TFM) เข้ามาเสริมทัพในโรงงานกลายเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ เพื่อแบ่งเบางานในส่วนที่ไม่ใช่
ภารกิจหลักของผู้ประกอบการ ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มมูลค่าแก่สินทรัพย์ ยืดอายุการใช้งานของอาคารและเครื่องจักร ยังช่วยประหยัดพลังงาน ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังคืนทุนในเวลาไม่นาน
อีกทั้งเป็นการยกระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย ปัจจุบันมีองค์กรมากมายในหลากหลายธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนนอกเหนือจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่นำนวัตกรรม TFM นี้เข้ามาปรับใช้เพื่อยกระดับการผลิตและการบริการของตนเองด้วยเห็นประโยชน์ด้านการประหยัดพลังงานและต้องการแบ่งเบาภาระงานด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงเรียนและสถานศึกษา โครงการที่พักอาศัย โรงแรม อาทิ โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ รวมถึงสถานที่ราชการต่าง ๆ ด้วย