ไมโครซอฟท์ จัดกิจกรรม#HourOfCode ปีที่ 4 ใช้เกมส์ฮิต Minecraft สอนเขียนโค้ดให้เยาวชนทั่วไทย
ไมโครซอฟท์ จัดกิจกรรม#HourOfCode ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อกระตุ้นความสนใจและสอนทักษะการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐาน ผ่านเกมยอดฮิตอย่าง Minecraft สื่อกลางการเรียนรู้ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะซึ่งถูกนำมาใช้ในกิจกรรมตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ เสต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics – STEM) ให้กับเด็กและเยาวชน โดยกิจกรรมนี้ได้ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 11 ธันวาคม 2559 พร้อมกันทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยในปีนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น (ChangeFusion) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดกิจกรรม#HourOfCode ขึ้นให้กับเยาวชนด้อยโอกาส เด็กนักเรียนจากชนบทห่างไกล รวมทั้งเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครกว่า 100 คน
และภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ธีรวุฒิ ธงภักดิ์ ผู้อำนวยการกองโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเปิดงาน และ ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ ตัวแทนกลุ่มผู้สร้างสรรค์เกม‘Timelie’ ไทม์ไล) ที่คว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลก สาขาการพัฒนาเกม จากราย Imagine Cup 2016 ) มาร่วมจุดประกายด้านการโค้ด พร้อมสร้างแรงบันดาลใจสานฝันการเป็นนักพัฒนาแอพพลิชั่นที่ประสบความสำเร็จให้กับเยาวชนที่มาร่วมงานอีกด้วย
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 เป็นต้นมา ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย มุ่งเดินหน้าจัดเวิร์คช็อปสอนการเขียนโค้ดอย่างต่อเนื่องให้กับเด็กและเยาวชนจากศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและทัณฑสถานหญิง โดยตั้งเป้าหมายที่จะขยายโอกาสการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ให้แก่เด็กและเยาวชนทั้งสิ้นกว่า 7,000 คนทั่วประเทศไทย ภายในเดือนกันยายน 2560
จากการสำรวจหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนวัย 15 ปีใน 20 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Program for International Student Assessment – PISA) พบว่ามีนักเรียนเพียง 30% เท่านั้นที่ผ่านประสบการณ์การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย ยังขาดทักษะด้านคอมพิวเตอร์ด้านนี้อยู่มาก
“กิจกรรม#HourOfCode เป็นแคมเปญระดับโลกที่ไมโครซอฟท์และองค์กร Code.org ร่วมกันจัดขึ้นทุกปีเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปในจุดนี้ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนสัปดาห์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในปีนี้จะจัดขึ้นทั่วโลกระหว่างวันที่ 5-11 ธันวาคม
วัตถุประสงค์หลัก คือการมุ่งเน้นขยายโอกาสการเรียนเขียนโค้ดพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในชนบทและพื้นที่ห่างไกลที่ยังขาดโอกาส พร้อมกระตุ้นความสนใจ เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา รวมทั้งจุดประกายความคิดให้กับเยาวชนซึ่งอาจกลายมาเป็นสุดยอดนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นต่อไป เป็นการเพิ่มจำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ด้วยเกมยอดฮิต Minecraft ที่ได้รับความนิยมจากเยาวชนกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก
ภายใต้บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างสรรค์และสนุกสนาน เพื่อเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับประเทศไทย Hour of Code จัดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 จนเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ให้ความสำคัญกับการเขียนโค้ดอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการอบรมการเขียนโค้ดอย่างง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานมาก่อน
ปัจจุบันมีเยาวชนไทยกว่า 40,000 คนทั่วประเทศได้มีโอกาสสัมผัสเรียนเขียนโค้ดเบื้องต้นจากโครงการนี้ ซึ่งไมโครซอฟท์รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างโอกาสมอบความรู้ดี ๆ ให้กับน้อง ๆเยาวชนของชาติ” ศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าว
“ในปัจจุบันโลกของเราได้เข้าสู่ยุคดิจิทัล จากประสบการณ์โดยตรงของผม นอกจากทักษะทางด้านภาษาแล้ว ทักษะทางด้านไอทีและเทคโนโลยีนับเป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบและเพิ่มมูลค่าให้กับงานในยุคที่มีการแข่งขันสูงในยุคที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นประจำทุกวันอย่างปัจจุบัน” ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ ตัวแทนนักพัฒนาเกม ‘Timelie’ (ไทม์ไล) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลก สาขาการพัฒนาเกม จากรายการ Imagine Cup 2016 (อิมเมจิ้น คัพ 2016) กล่าว
“ในฐานะของผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของไมโครซอฟท์ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งแทนน้องๆที่ไมโครซอฟท์เห็นความสำคัญ และทุ่มเทเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้กับเยาวชนไทยในการเตรียมความพร้อมสำหรับโอกาสด้านอาชีพ เปิดโลกของการจินตนาการด้วยการโค้ด และการเป็นผู้ประกอบการณ์ในอนาคต ผ่านกิจกรรม#HourOfCode ด้วยเกม Minecraft ที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ”
นอกจากเกม Minecraft ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสอนเขียนโค้ด กิจกรรม#HourOfCode ในปีนี้ ยังประกอบไปด้วยเวิร์คชอปสุดสร้างสรรค์อีก 3 กิจกรรม ได้แก่ ‘คอมพิวเตอร์รอบตัวเรา (Computer Around You)’,‘เขียนโปรแกรมกระดาษกราฟ (Graph Paper Programming)’ และ ‘เขียนโปรแกรมด้วยตัวเองง่ายจัง ด้วยโปรแกรมจาก Microsoft TouchDevelop’
ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการเรียนการเรียนเขียนโปรมแกรมอย่างง่าย เสริมสร้างความเข้าใจทางอัลกอริทึม (Algorithm) และเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของการคิดเชิงตรรกะของเยาวชน
ด้วยความหลากหลายที่ไร้ขีดจำกัด เกม Minecraft ได้รับการยอมรับและถูกใช้ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนภายในห้องเรียนกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก ในการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ การเป็นพลเมืองดิจิทัล และอื่น ๆ อีกมากมาย
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์และ Code.orgอได้จับมือกันอีกครั้งออกแบบโปรแกรมสอนเขียนโค้ดใหม่ในชื่อว่า Minecraft Hour Of Code Designer ซึ่งเด็กอๆ สามารถสร้างโลก Minecraft ให้มีชีวิตชีวาขึ้นในแบบของตัวเอง สามารถสร้างโค้ดที่ออกแบบ ควบคุมพฤติกรรมสัตว์ต่าง ๆได้ตามใจชอบ ช่วยปลดล็อคความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน พร้อมดึงศักยภาพของนักเรียน และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้อย่างสูงสุดสำหรับเยาวชนทั่วโลก
“ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ยุคของดิจิทัล (Digital Transformation) ทักษะทางด้านเทคโนโลยีนับเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตจะเกิดอาชีพที่จำเป็นต้องมีทักษะทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นกว่า 6 ล้านงานในอีก 2–3 ปี ข้างหน้า
ซึ่งทิศทางและแผนนโยบายต่าง ๆ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีความเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น” ศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวเสริม
“นอกจากการขยายโอกาสทางการศึกษาได้สูงสุด ไมโครซอฟท์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทักษะทั้งหมดที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้จากการเรียนเขียนโค้ดจากกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนระดับโลกจะเป็นประโยชน์ต่อน้องในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพิ่มโอกาสทางการทำงานต่อไปในอนาคต และก้าวสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี พร้อมสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประเทศชาติต่อไป”