web analytics

ติดต่อเรา

‘เอพี ไทยแลนด์’ สนับสนุนเด็กไทยสร้างมูลค่าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับคนเมือง ผู้นำการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดีไซน์เพื่อพื้นที่ใช้สอยที่ไม่จำกัด ร่วมสนับสนุนโครงการ ‘ปั้นฝัน เดอะ บัณฑิต ปี 3’ โครงการสุดสร้างสรรค์ภายใต้การสนับสนุนของ ‘มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ’ (มูลนิธิที่ตั้งขึ้นเพื่อสืบสานแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9) มูลนิธิรากแก้ว และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

เพื่อเฟ้นหากลุ่มเยาวชนที่มีจิตสำนึก ตระหนักรู้ถึงปัญหาของสังคมมาใช้พลังความคิดสร้างสรรค์ช่วยเชิดชูงาน ‘ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งแสดงให้นานาชาติได้เห็นถึงศักยภาพของศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย

โดยในปีนี้ บมจ.เอพี ไทยแลนด์ ได้มีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำปรึกษา ลงพื้นที่ดูการปฎิบัติงานจริงพร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งในด้านการออกแบบ งานการตลาดและการขาย ให้กับทีมนิสิตจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒซึ่งรวมตัวกันจาก 5 สาขาวิชา

ได้แก่ 1) สาขาการออกแบบสื่อสาร 2) สาขาการจัดการธุรกิจไซเบอร์ 3) สาขาการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับ 4) สาขาการจัดการท่องเที่ยว และ 5) สาขาการออกแบบแฟชั่น เพื่อดึงขีดความสามารถของน้อง ๆ ในแต่ละสาขามาพัฒนาโครงงานภายใต้คอนเซ็ปต์ “ผ้าไหมบุญพื้นถิ่นถมไทยศุภสิน ปั้นสรรค์ศิลป์แผ่นดินสู่สากล” (Green Silk Green Jewelry)

ให้ออกมาดีที่สุด สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างสรรค์เป็นผลงาน “ผ้ารองจาน” ผลิตจาก “ผ้าไหมอีรี่” ที่ได้เส้นไหมมาจากหนอนไหมสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นไหมป่าเพียงชนิดเดียวที่สามารถเลี้ยงได้ครบวงจรชีวิตตัวหนอนไหมไม่ตายที่กระบวนการดึงเส้นไหม และ “ชุดช้อนส้อม” ที่ผลิตจาก “เครื่องถมดำ” ที่ทางสาขาอัญมณีและเครื่องประดับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้นำนวัตกรรมยาถมปลอดสารตะกั่วที่คิดค้นได้เพื่อยกระดับชิ้นงานให้ได้มาตรฐานสากล เข้าไปเผยแพร่สอนอาชีพให้แก่ชาวบ้านในชุมชน

ภัทรภูริต รุ่งจตุรภัทร ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงาน Corporate Image Officer บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่า “เอพีเราเชื่อว่าทุก ๆ ปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยความรู้ความสามารถ เราจึงให้ความสำคัญ กับเรื่อง Knowledge Sharing การแบ่งปันความรู้ให้ชุมชนหรืออุตสาหกรรม เพื่อยกระดับให้ดีขึ้น

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในด้านการพัฒนาคน มาปฏิบัติอย่างจริงจัง สำหรับน้อง ๆ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ เอพีได้ให้การสนับสนุนผ่านกิจกรรมหลายอย่างที่ทำร่วมกันตั้งแต่เชิญผู้เชี่ยวชาญ ด้านดีไซน์ ที่มีชื่อเสียงมาถ่ายทอดมุมมอง สร้างแรงบันดาลใจ

11             12

ซึ่งนอกจากการพัฒนาด้านการออกแบบแล้ว เรายังคำนึงถึงเรื่อง Phisibility ของสิ่งที่ทำออกมาว่าทำได้จริงไหม ถ้าผลิตออกมาแล้วสามารถสร้างกำไรไหม แล้วกำไรที่ได้เหลือไปถึงผู้ผลิตหรือชุมชนเท่าไร”

“ทั้งนี้ เอพีสนุบสนุนนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ เข้าร่วมโครงการ ‘ปั้นฝัน เดอะ บัณฑิต ปี 3’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความคิดของคนรุ่นใหม่ให้มีส่วนร่วมในศิลปหัตถกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย โดยใช้เทคโนโลยียุคปัจจุบัน และความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่มาบูรณาการใช้กับผ้าไหมและเครื่องลงถม แนะแนวอาชีพให้ชาวบ้านในชุมชมให้สามารถเลี้ยงตนได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ตอบสนองปรัชญาของเอพีเรื่องดีไซน์ที่มุ่งพัฒนาเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น” ภัทรภูริต กล่าวเสริม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจีพร วงศ์ปรีดี ที่ปรึกษาโครงการผ้าไหมบุญพื้นถิ่น ถมไทยศุภสิน ปั้นสรรค์ศิลป์แผ่นดินสู่สากล เล่าถึงการดำเนินโครงการว่า “โครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่าอยากทำอะไรเพื่อรับใช้สังคม

โดยสามารถต่อยอดนำไปใช้ได้จริงอย่างยั่งยืน พอได้มาเป็นที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษากลุ่มนี้จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝังความคิดด้านจิตอาสาให้กับคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ยังมีทีมเอพีที่คอยสนับสนุนนิสิตกลุ่มนี้ให้ทำตามความฝันได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

อดิรุจ พีรวัฒน์ บัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ สาขาอัญมณีและเครื่องประดับ หัวหน้ากลุ่มผ้าไหมบุญพื้นถิ่นถมไทยศุภสิน ปั้นสรรค์ศิลป์แผ่นดินสู่สากล กล่าวว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นและประทับใจมาก ๆ ครับ การลงพื้นที่ทำกิจกรรมครั้งนี้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับผมมากครับ ตั้งแต่การวางแผนงาน การเก็บข้อมูล รวมไปถึงการลงมือทำจริง

นอกจากนี้ยังได้เจอและทำงานร่วมกับผู้คนที่หลากหลาย ทั้งอาจารย์และเพื่อนต่างคณะ ทีมเอพี รายการปั้นฝัน เดอะ บัณฑิต รวมไปถึงชาวบ้านในชุมชนจังหวะสระแก้ว ถึงแม้จะมีอุปสรรคและปัญหา แต่ก็ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ไหนมาก่อน ที่สำคัญคือรู้สึกอิ่มเอมใจมาก ๆ ครับ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความรู้ทางวิชาชีพที่ชาวบ้านสามารถนำไปใช้ได้จริง ช่วยให้เขาสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืนครับ”

ไชยยง รัตนอังกูร ผู้เชี่ยวชาญงานสร้างสรรค์การออกแบบ อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Wallpaper และอดีตผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ที่ปรึกษาพิเศษที่ทางเอพีได้เชิญมาร่วมให้คำแนะนำแก่น้อง ๆ ในประเด็นของดีไซน์สร้างมูลค่าเพิ่ม กล่าวว่า วันนี้ได้มาให้คำแนะนำแก่น้อง ๆ ในเรื่องของการใช้งานที่บางครั้งดีไซเนอร์จะสร้างสรรค์ผลงานตาม Inspiration

เพื่อหวังผลประโยชน์การใช้งานอย่างหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วดีไซเนอร์ต้องมองในมุมของผู้ใช้งานด้วยว่าเขาจะใช้ประโยชน์จากสินค้านั้นในลักษณะใด เพราะสุดท้ายแล้วฟังก์ชั่นการใช้งานได้จริงคือสิ่งสำคัญที่นักออกแบบทุกคนต้องคำนึงถึงเสมอ”

ผลงานของนิสิตมศว ทั้ง 2 ชิ้น ได้รับแรงบันดาลใจมากจากจังหวัดสระแก้ว จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย แหล่งผลิตงานศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก มีปราสาทสด๊กก๊อกธม ซึ่งเป็นประติมากรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ มีอิทธิพลต่อการออกแบบงานศิลปหัตถกรรมของคนในพื้นถิ่นสระแก้ว อาทิเช่น ผ้าทอจากไหมอีรี่ของบ้านแผ่นดินเย็น ต.แซร์ออ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว และเครื่องเงินยาถมดำปราศจากตะกั่ว อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

การประยุกต์ของสองสิ่งโดยนำมาออกแบบร่วมกันให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ กระเป๋าผ้าไหมอีรี่ ตกแต่งด้วยลูกปัดและกระดุมเครื่องยาถมดำ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้นิสิตในฐานะนักออกแบบรุ่นใหม่ได้ผสมผสานความคิดเข้ากับทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาการทอผ้าและเครื่องยาถมแบบดั้งเดิมจนได้ผลงานที่สร้างสรรค์แปลกใหม่และพัฒนาต่อได้ นับเป็นเป็นมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

“เอพีเชื่อในการปลูกฝังแนวคิดการทำงานเป็นทีมและการสร้างมิตรภาพผ่านการลงมือทำ ซึ่งเอพีรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานแนวพระราชดำริ สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน นิสิต รวมถึงชาวบ้านในชุมชนเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองและส่งต่อความรู้จากการทำกิจกรรม ‘ผ้าไหมบุญพื้นถิ่น ถมไทยศุภสิน ปั้นสรรค์ศิลป์แผ่นดินสู่สากล’ ผ่ายรายการปั้นฝัน เดอะ บัณฑิต ปี 3 ในครั้งนี้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยในอนาคตเอพีจะมุ่งมั่นสานต่อโครงการดี ๆ และกิจกรรมเพื่อสังคมอื่นๆ ต่อไป” ภัทรภูริต กล่าวปิดท้าย

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *